ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 596 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82839
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  24  ธันวาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย

วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ

- ภาคใต้ฝั่งตะวันออกยังคงมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า
2.การใช้ยาง

- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ได้ประกาศยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมยานยนต์ 2563 ที่กำหนดเป้าหมายยอดผลิตรถยนต์ให้ได้ 3.5 ล้านคัน ภายในเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2563) เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์แห่งภูมิภาคอาเซียน และเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ในระดับโลก
3. เศรษฐกิจโลก

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลงเกินคาดในเดือนพฤศจิกายน โดยลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการทรุดตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อสินค้าของสหรัฐฯ เช่น เครื่องบิน รถยนต์ และเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป ทรงตัวในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบรายเดือน โดยยอดสั่งซื้ออาวุธเพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.4 ซึ่งหากไม่รวมปัจจัยดังกล่าว ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนจะลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า รายได้ส่วนบุคคลเพิ่ม่ขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนตุลาคม โดยปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน จากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤศจิกายน หลังจากทรงตัวในเดือนตุลาคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตราวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ทรงตัวในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบรายเดือนแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบรายปี และเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ของเฟดเป็นเดือนที่ 43 ติดต่อกัน
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นขั้นสุดท้ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นในเดือนธันวาคม แตะระดับ 92.6 ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม โดยสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ 91.8 และสูงกว่าระดับ 91.3 ของเดือนพฤศจิกายน
4. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่ 36.12 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.07  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.80 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.17  เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน

- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ปิดตลาดที่ 37.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.36 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบางสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งข้อมูลดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันที่สูงเกินไป
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มขึ้น 1.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 37.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
- กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ออกรายงานฉบับหนึ่งโดยคาดว่าราคาน้ำมันในตะกร้าน้ำมันดิบของโอเปก จะแตะระดับ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2563 และ 95 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ในปี 2573
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลดลงมากเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว  ทั้งนี้ สต๊อกน้ำมันดิบลดลง 5.9 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 484.6 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 600,000 บาร์เรล
6. การเก็งกำไร

- TOCOM ส่งมอบเดือนมกราคม 2559 อยู่ที่ 153.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 164.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่า ยอดขายบ้านใหม่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ในเดือนพฤศจิกายน เมื่อเทียบรายเดือนสู่ระดับ 490,000 ยูนิต และเมื่อเทียบรายปี ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 ในเดือนพฤศจิกายน ส่วนในช่วงเดือนแรกของปีนี้ ยอดขายบ้านใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ

- ราคายางมีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากใกล้วันหยุดยาว นักลงทุนต่างประกาศชะลอการซื้อ ทำให้ขายออกยากไม่มีผู้ซื้อ  อย่างไรก็ตามแหล่งข่าวรายงานว่า ถ้าเสนอขายในราคาต่ำก็จะขายได้ แต่ถ้าเสนอสูงขึ้นมาก็ขายไม่ได้  ขณะที่สภาพอากาศเริ่มดีขึ้นกรีดยางได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงยังมองว่าราคาปรับตัวสูงขึ้นได้ยาก เพราะปริมาณยางที่มีน้อยตลอดทั้งปี จะส่งผลต่อราคายางในระยะต่อไป
ได้หรือไม่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียวจากการแข็งค่าของเงินเยน และนักลงทุนชะลอการลงทุน เนื่องจากใกล้ช่วงหยุดยาวในเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ ประกอบกับขาดปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด  อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและเงินบาทอ่อนค่ายังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา