ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 973 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  29  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปกับมีลมแรง ส่วนภาคใต้มีเมฆเป็นส่วนมากกับมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ตอนล่าง
2. การใช้ยาง
- บริษัทโฟล์คสวาเกน เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์โลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในเดือนมกราคม ขณะที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในรัสเซียและบราซิล รวมทั้งจากข่าวอื้อฉาวของการโกงการตรวจไอเสียในสหรัฐฯ โดยบริษัทระบุว่าสามารถจำหน่ายรถยนต์ 847,000 คัน ทั่วโลกในเดือนมกราคม เพิ่มขึ้นจาก 817,000 ตัน ในเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว
3. สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2559 มีจำนวน 276,280 ตัน เพิ่มขึ้น 383 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.14 จากระดับ 275,906 ตัน ณ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559
4. เศรษฐกิจโลก
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อจากดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเยอรมนีลดลงสู่ระดับร้อยละ 0 ในเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อเทียบรายปี ส่งผลให้มีการคาดการณ์กันว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะทำการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเดือนหน้าเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ
- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมกราคม ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.7 จากเดือนก่อนหน้า
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PEC) ซึ่งเป็นมาตราวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบรายเดือน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547
- กระทรวงพณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนมกราคม หลังจากเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 ในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ยังรายงานว่า รายได้ส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2558
- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงในเดือนกุมภาพันธ์ แตะระดับ 91.7 จากระดับ 92.0 ในเดือนมกราคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ครั้งที่ 2 สำหรับไตรมาส 4 ของปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยปรับเพิ่มขึ้นจากตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับร้อยละ 0.7 แต่ลดลงจากระดับ 0.2 ในไตรมาส 3 และร้อยละ 3.9 ในไตรมาส 2 ส่วนในไตรมาสแรกของปีนี้มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจมีการขยายตัวร้อยละ 2.5 แต่มีแนวโน้มจะลดลงจากระดับดังกล่าว จากสาเหตุการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การแข็งค่าของดอลลาร์ รวมทั้งการทรุดตัวของตลาดหุ้นทั่วโลกในช่วงต้นปี
5. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.08  บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 113.44 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 1.34 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายน 2559 ปิดตลาดที่ 32.78 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.29 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากเทรดเดอร์ขายทำกำไรในช่วงท้ายตลาดหลังจากที่ราคาเริ่มปรับตัวขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายน 2559 ที่ตลาดลอนดอนปิดที่ 35.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
7. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 147.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 155.3 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 128.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง
8. ข่าว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS)  เปิดเผยว่า ตลาดที่อยู่อาศัยของจีนในเดือนมกราคม ยังคงปรับตัวแข็งแกร่ง โดยมากกว่าครั้งหนึ่งของจำนวนเมืองใหญ่ที่ทำการสำรวจได้รายงานถึงการปรับตัวขึ้นของราคาบ้านใหม่เมื่อเทียบรายเดือน โดย NBS ระบุว่า จากการสำรวจเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวน 70 เมือง ในเดือนมกราคม พบว่าราคาบ้านใหม่ใน 38 เมือง ได้ปรับสูงขึ้นเทียบกับ 39 เมือง ในเดือนก่อนหน้า
9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวสูงขึ้นได้ เพราะปริมาณผลผลิตมีน้อย ทำให้ผู้ประกอบการบางส่วนต้องเร่งซื้อเพื่อส่งมอบและเก็บสต๊อค ก่อนที่จะหยุดกรีดในช่วงฤดูยางผลัดใบ ซึ่งหลายพื้นที่เริ่มหยุดกรีดแล้ว
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยในช่วงฤดูยางผลัดใบ รวมทั้งนักลงทุนขานรับการประชุมของกลุ่มประเทศ G20 ที่เห็นพ้องให้สร้างเสถียรภาพในตลาดและส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่ผันผวนและเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลเชิงลบต่อราคายางได้ในระดับหนึ่ง
[/color]
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา