ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 987 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  5  เมษายน  พ.ศ. 2559



ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง มีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในบางพื้นและมีฝนตกร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆมากกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 20 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- ยอดจองรถมอเตอร์โชว์วูบ ภาษีใหม่ดันราคาพุ่ง ผู้บริโภคชะลอใช้เงินประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ตัวเลขยอดจองรถยนต์รวมทุกยี่ห้ออยู่ที่ 32,571 คัน ต่ำกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 40,000 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 12.0 เพราะผู้บริโภคกังวลว่าราคารถยนต์จะปรับสูงขึ้นจากผลของภาษีสรรพสามิตใหม่ ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ยังมีบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการจับจ่ายของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจในการซื้อรถยนต์ ?ยอดจองรถยนต์ในงานต่ำกว่าในปีที่ผ่านมา โดยการปรับขึ้นราคาเพียงแค่ร้อยละ 5.0 จากราคาเดิม ส่งผลกระทบทางด้านความรู้สึกและตัดสินใจใช้เงิน สำหรับเม็ดเงินสะพัดในงานนี้คาดว่าไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท ยอดจองรถยนต์ได้กระจายไปในทุกเซ็กเม้นต์ ไม่กระจุกเหมือนในช่วงที่มีโครงการรถยนต์คันแรก

3. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งชาติของรัสเซีย แถลงว่าเศรษฐกิจของรัสเซียหดตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2558 เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งมีผลการคว่ำบาตรของกลุ่มชาติตะวันตก โดยเกี่ยวพันกับการผนวกดินแดนคาบสมุทรไครเมียและการก่อความไม่สงบของยูเครนที่รัสเซียให้การหนุนหลัง รวมทั้งราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ ซึ่งน้ำมันเป็นสินค้าส่งออกหลักของรัสเซีย และภาคที่ได้รับผลกระทบหนักสุดคือ การขายส่งและขายปลีกตกต่ำลงร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบอัตราปีต่อปี และภาคการก่อสร้างตกต่ำร้อยละ 7.4

- นายซุน แบ คิม ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และอดีตนักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ระบุว่าการที่ตลาดการเงินกลับสู่ความสงบในช่วงนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าความวิตกเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาเป็นความกังวลที่มากเกินไป และนายซุนระบุว่า จีนกำหนดอัตราการเติบโตในปีนี้ในช่วงร้อยละ 6.5-7.0 เนื่องจากจีนต้องการจัดการกับปัญหาบางอย่าง โดยจีนจะทำการปรับโครงสร้างเพื่อให้มีการขยายตัวมากขึ้นในระยะกลาง ซึ่งเศรษฐกิจจีนขยายตัวร้อยละ 6.9 ในปีที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี แต่ก็ยังเป็นระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆทั่วโลก

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่  35.34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่  110.87 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.49 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


-สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 ปิดตลาดที่ 35.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยภาวะการซื้อขายในตลาดน้ำมันนิวยอร์กยังคงได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า การประชุมประเทศผู้ผลิตน้ำมันในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 17 เมษายนที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์นั้น จะไม่สามารถตกลงกันได้ ในเรื่องการตรึงกำลังการผลิต หลังจากซาอุดิอาระเบียตั้งเงื่อนไขว่าจะตรึงกำลังการผลิตก็ต่อเมื่ออิหร่านและประเทศอื่น ๆ
ยอมปฏิบัติตาม

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 ปิดตลาดที่ 37.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.98 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2559 อยู่ที่ 170.4 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ 177.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 156.80 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง
ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการปรับตัวลงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 4 เดือน ทั้งนี้ ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลงร้อยละ 1.7 ในเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากดีดตัวขึ้นร้อยละ 1.2 ในเดือนมกราคม คำสั่งซื้อจากการลงทุนในภาคธุรกิจลดลงร้อยละ 2.5 ในเดือนกุมภาพันธ์ โดยเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดในรอบ 2 เดือน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือนมกราคม

- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานในยูโรโซนปรับตัวลงจากระดับร้อยละ 10.4 ในเดือนมกราคม สู่ระดับร้อยละ 10.3 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปี นับเป็นการสะท้อนว่าเศรษฐกิจยูโรโซนฟื้นตัว

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย จากการแข็งค่าของเงินเยนและราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง ปริมาณยางที่เข้าสู่ตลาดน้อย เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดกรีด  ซึ่งผู้ประกอบการยังคงมีความต้องการผลผลิตอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโลก โดยมีปัจจัยบวกจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อยในฤดูยางผลัดใบ  ขณะที่ผู้ประกอบการภายในประเทศยังมีความต้องการซื้อ เพราะเกรงจะขาดแคลนยางเพื่อการส่งมอบ  อีกทั้งมาตรการรับซื้อยางของโครงการภาครัฐ เป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ระดับหนึ่ง   อย่างไรก็ตาม ราคายางได้รับปัจจัยกดดันจากค่าเงินเยนแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา