ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 914 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  18  เมษายน  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดในบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 40-43 องศาเซลเซียส อาจมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส กับมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์จีน (CAAM) เปิดเผยว่า ตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศจีนเดือนมีนาคมอยู่ที่ 2.44 ล้านคัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.0 จากยอดจำหน่าย 1.58 ล้านคัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แต่ต่ำกว่ายอดจำหน่าย 2.50 ล้านคันในเดือนมกราคม ถือเป็นแนวโน้มที่สดใสของอุตสาหกรรม
ยานยนต์ของจีน

3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 15 เมษายน 2559 เพิ่มขึ้น 2,941 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 อยู่ที่ 290,888 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 287,947 ตัน เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2559

- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 30 มีนาคม 2558 ลดลง 262 ตัน หรือลดลงร้อยละ 3.91 อยู่ที่ 6,431 ตัน จากสต๊อคเดิมที่ 6,693 ตัน เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2559

4. เศรษฐกิจโลก


- ธนาคารยูบีเอสของสวิสเซอร์แลนด์ปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนปี 2559 จะขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 6.2 เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจหลายรายการที่ออกมาเป็นบวก รวมถึงสินเชื่อที่ผ่อนคลาย และนโยบายการคลังที่สนับสนุนการขยายตัว

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.6 แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ก่อนนี้ว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 โดยได้รับแรงกดดันจากการผลิตที่ลดลงในภาคยานยนต์

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก รายงานดัชนีภาวะธุรกิจโดยรวมมีการขยายตัวในเดือนเมษายน เป็นการเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคมขยับขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยได้รับผลกระทบจากการลดลงของราคาอาหาร เวชภัณฑ์ และที่อยู่อาศัย เมื่อเทียบเป็นรายปีดัชนี CPI ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.9 ในดือนมีนาคม หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ในเดือนกุมภาพันธ์

- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า รายได้ด้านการคลังของรัฐบาลไตรมาสแรกปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 3.89 ล้านล้านหยวน ขณะที่เศรษฐกิจในภาพรวมเริ่มส่งสัญญาณมีเสถียรภาพ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเปิดเผยข้อมูลทางเศรษฐกิจดังนี้

    ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรกปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 15.9 ล้านล้านหยวน ชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 4 ปี 2558 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 เป็นการขยายตัวรายไตรมาสที่ชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบ 7 ปี
    ยอดการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาสแรกปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ ที่ขยายตัวร้อยละ 5.4
    การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้ขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 5.6 ล้านล้านหยวนในไตรมาสแรกปี 2559 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัว
    ร้อยละ 10.0

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 108.05 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.17 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 40.36 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2559 ก่อนหน้าการประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และประเทศนอกกลุ่มโอเปคเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2559 ซึ่งเป้าหมายที่จะหารือเพื่อจำกัดเพดานการผลิต หลังจากราคาน้ำมันในตลาดโลกทรุดตัวลง

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดที่ 43.10 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และประเทศนอกกลุ่มโอเปค ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยที่ประชุมไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต และมีมติว่าต้องการเวลามากขึ้นเพื่อที่จะปรึกษาหารือและพูดคุยกันมากขึ้น

7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 184.9 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 188.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 169.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาแอตแลนต้า กล่าวว่า เขาไม่สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ เพราะยังมีเวลาพอสำหรับเฟดในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2-3 ครั้งในปีนี้

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่ลดลงเกินคาดในสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้กระทรวงระบุว่าจำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 13,000 ราย สู่ระดับ 253,000 ราย ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 9 เมษายน 2559 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2516

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อยจากภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้ง คาดว่าจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกประมาณ 1-2 เดือนกว่าปริมาณยางจะเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ราคายางในระยะนี้ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นได้อีก

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญมาจากอุปทานยางที่ลดลง และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ส่วนปัจจัยลบมาจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท รวมทั้งนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง หลังจากที่ประชุมกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน (โอเปค) ไม่สามารถตกลงกันได้ในประเด็นการตรึงกำลังการผลิต


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา