วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกรรโชกแรงเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่
2. การใช้ยาง
- สมาคมผู้ผลิตยางล้อและยางแห่งสหภาพยุโรป (ETRMA) เปิดเผยว่า การนำเข้ายางล้อของสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 มีการนำเข้าจากจีนร้อยละ 9.0 โดยการนำเข้ายางล้อรถบรรทุกและยางล้อรถโดยสารของสหภาพยุโรปโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ซึ่งประเทศจีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายหลักมายังสหภาพยุโรปที่มียอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.0
3. เศรษฐกิจโลก
- ธนาคารกลางเกาหลีใต้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในประเทศในปีนี้ลงสู่ร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 3.0 เนื่องจากเกาหลีใต้เผชิญกับแรงกดดันช่วงขาลงจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป หรือ ZEW เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมันที่มีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น 11.2 ในเดือนเมษายน จาก 4.3 ในเดือนมีนาคม สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าดัชนีจะแตะระดับ 8.0 ในเดือนเมษายน
- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในจีนมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้กระทรวงได้เปิดเผยว่า FDI เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 2.24 แสนล้านหยวน (3.7 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในช่วงไตรมาส 1 ปีนี้ เป็นการชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 6.4 ในปี 2558 อย่างไรก็ดี FDI เดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 8.2 หมื่นล้าน-หยวน
- สมาคมห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดขายของห้างสรรพสินค้าเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุมาจากความน่าเชื่อถือที่ถดถอยของผู้บริโภค เพราะราคาหุ้นที่ตกต่ำและการแข็งค่าของเงินเยน
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน ได้แสดงความกังวลว่า หากอัตราดอกเบี้ยยังเคลื่อนไหวในระดับต่ำจะส่งผลให้อัตราว่างงานลดลงอย่างหนัก และท้ายที่สุดจะกดดันให้เฟดต้องเร่งใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงิน
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 34.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 108.95 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.06 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคม ปิดตลาดที่ 41.08 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าคนงานในอุตสาหกรรมน้ำมันของคูเวตหลายพันคนยังคงเดินหน้าประท้วงผละงานเพื่อคัดค้านแผนการลดเงินเดือน ขณะที่นักลงทุนจับตาดูรายงานสต๊อคน้ำมันดิบประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 44.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 189.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 195.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.2 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 174.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 8.8 สู่ระดับ 1.09 ล้านยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 บ่งชี้ถึงภาวะการชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ
- โซล มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือระบบธนาคารเกาหลีใต้ จากระดับ ?มีเสถียรภาพ? เป็น ?ทิศทางแนวโน้มในเชิงลบ? พร้อมกับคาดหมายว่าความน่าเชื่อถือระบบธนาคารเกาหลีใต้จะย่ำแย่ลงไปอีกในปีหน้า
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ อีกทั้งปัญหาภาวะขาดแคลนยางและความต้องการซื้อของผู้ประกอบการภายในประเทศ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและสินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ทองแดงและเหล็ก โดยมีปัจจัยบวกจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับราคาพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับ 41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ประกอบกับอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบของผู้ประกอบการในประเทศ
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา