ผู้เขียน หัวข้อ: ราคายางอินเดียถูกกว่าราคายางนำเข้าเนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น  (อ่าน 737 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87689
    • ดูรายละเอียด
ราคายางอินเดียถูกกว่าราคายางนำเข้าเนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น


อุตสาหกรรมในประเทศอินเดียต้องนำเข้ายางจากประเทศอื่นๆ เนื่องจากมีราคาถูกกว่ายางที่ผลิตในประเทศ ซึ่งเป็นผลจากผลผลิตยางในประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาในประเทศถูกลง


    ราคายางในตลาดต่างประเทศในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนสูงกว่าราคายางในอินเดีย 10 รูปีต่อกิโลกรัม บวกกับค่าภาษีนำเข้า ทำให้ยางนำเข้ามีราคาอยู่ที่ 170 รูปีต่อกิโลกรัม ในขณะยางที่ผลิตในอินเดียมีราคา 130 รูปีต่อกิโลกรัม 


    อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในช่วงฤดูมรสุม ได้สร้างความกังวลเนื่องจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมคาดว่าจะลดการผลิต ซึ่งจะสามารถเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือนมกราคมต้นปีนี้


    "เนื่องจากการประกาศยกเลิกธนบัตรมูลค่า 500 และ 1,000 รูปี จะทำให้ยอดขายยางล้อในประเทศลดลงร้อยละ 30-40 ซึ่งอาจส่งผลให้อุตสาหกรรมชะลอตัว แต่ขณะนี้ราคายางอินเดียถูกกว่าจึงเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกยาง และไม่มีผลกระทบต่อยางในระยะยาว" นาย Tomy Abraham ประธานสมาพันธ์ผู้ค้ายางของประเทศอินเดีย (Indian Rubber Dealers Federation; IRDF) กล่าว   


    ตามข้อมูลของคณะกรรมการยางอินเดียระบุว่า ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาปริมาณการผลิตยางธรรมชาติในอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 มีปริมาณ 60,000 ตัน และมีปริมาณการใช้ 86,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4
 
    "การผลิตและการใช้ยางธรรมชาติในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 52,000 ตัน และ 82,650 ตัน ตามลำดับ ในเดือนตุลาคมมีปริมาณการนำเข้า 44,520 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 และในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปีงบประมาณ 2559-2560 ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเกือบร้อยละ 11? คณะกรรมการยางกล่าว 


    นาย Rajiv Budhraja ผู้อำนวยการทั่วไปของสมาคมผู้ผลิตยางล้อรถยนต์ (ATMA) กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ยังเหมือนเดิม ยังจะต้องรอผลกระทบที่เกิดจากการเพิ่มปริมาณการผลิต การชะงักงันของยางในสต็อกใหม่ที่จะออกสู่ตลาดเนื่องจากการประกาศยกเลิกธนบัตรเก่า ฉะนั้นจึงยังมีความเป็นห่วงว่าจะมียางเพียงพอในตลาดหรือไม่ แม้ว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้นแล้วก็ตาม 


    เขายังกล่าวเสริมว่า การนำเข้ายางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคมนั้นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกยางในอินเดีย

    (ที่มา: http://rubberjournalasia.com, 09/12/2016)