Guangdong Guangken Rubber Group ของจีนจะบุกตลาดยางธรรมชาติในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มาเลเซียเคยเป็นประเทศผู้ผลิตยางที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลก ตามหลังเพียงไทยและอินโดนีเซีย แต่จากราคายางที่ตกต่ำในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มาเลเซียจึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ปาล์ม การกรีดยางจึงค่อยๆ หมดความนิยมในหมู่คนท้องถิ่น ในขณะที่พื้นที่ปลูกยางก็ลดลงแต่บริษัทGuangdong Guangken Rubber Group ของจีน ซึ่งตั้งแต่ปี 2008 ได้ลงทุนหลายล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปในการเช่าซื้อที่ดินและแนะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ในมาเลเซีย ไม่ได้คิดเช่นนั้น โดยบริษัทของจีนได้ทำงานร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่น Bornion เพื่อสร้างหนึ่งในสวนยางที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียที่รัฐ Sabah
Lai Xionghui ผู้จัดการทั่วไปของบริษัท Bornion Guangken Rubber Sdn. Bhd. ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน 50-50 ระหว่าง Guangken Rubber Group และ Bornion กล่าวว่า บริษัทฯ มีจำนวนต้นยางที่พร้อมกรีดเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง และบริษัทฯ ก็จะสามารถรับมือกับราคาตกต่ำในระยะยาวได้
Lai กล่าวว่า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลิตภาพของยางธรรมชาติสูงกว่าของจีน แต่ค่าแรงถูกกว่า คนกรีดยางในจีนที่มีอายุประมาณ40 ปี จะมีรายได้มากกว่าคนกรีดยางในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 40 % - 50 %
ปัจจุบัน มีต้นยางประมาณ 770,000 ต้นในสวนยางดังกล่าว และบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะเพิ่มจำนวนต้นยางเป็น [size=78%]2 ล้านต้นในอีกสองสามปีข้างหน้า ซึ่งจะต้องทำให้ต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น
Ho Fung Shan ผู้อำนวยการของบริษัทร่วมทุนดังกล่าว กล่าวว่า คนกรีดยางที่มีทักษะและขยัน สามารถมีรายได้ถึง5,000 ริงกิต แต่ก็ยังจ้างคนงานไม่พอ เพราะนอกจากการกรีดยางแล้ว สวนยางยังต้องการคนงานที่จะดูแลกล้ายาง ซึ่งคนท้องถิ่นไม่ชอบทำ
โดยปกติ ต้นยางปลูกใหม่ต้องใช้เวลาเติบโตเกือบห้าปี จึงพร้อมที่จะกรีด ซึ่งหมายความว่า สวนยางจะต้องการกล้ายางเป็นร้อยๆ ล้านต้นต่อปีLai กล่าวว่า บริษัทฯ ยังขาดคนงานอีก 200 คน และถึงแม้คนงานอินโดนีเซียจะมีอยู่มากที่จะจ้างได้ในตลาด แต่ทางการท้องถิ่นเกรงว่าแรงงานต่างด้าวจะไหลทะลักเข้ามา และพร้อมที่จะทำงานโดยรับค่าจ้างที่ถูกกว่า ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อตลาดแรงงานท้องถิ่น
สวนยางในมาเลเซียไม่ใช่โครงการแห่งเดียวของ Guangken ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการควบรวมกิจการซึ่งเกิดจากราคายางที่ตกต่ำ บริษัทฯ จีน ยังเข้าไปในตลาดอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม และกลายมาเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตยางธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากซื้อกิจการของคู่แข่งไทยLai ไม่ได้เปิดเผยถึงระยะเวลาที่ธุรกิจสวนยางที่รัฐ Sabah ของ Guangken จะได้กำไร แต่กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับราคาตลาด
เขากล่าวว่า มีแผนที่จะตั้งโรงงานเพื่อแปรรูปน้ำยางให้เป็นยางแห้งหรือน้ำยางข้น เพื่อทำให้กำไรเพิ่มขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือการตั้งรากฐานที่นี่ และให้คนเห็นว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะอยู่ที่นี่ในระยะยาว
http://rubberjournalasia.com/chinese-company-guangdong-guangken-rubber-group-taps-into-the-natural-rubber-market-in-southeast-asia [/size]