ผู้เขียน หัวข้อ: กยท.ย้ำขายยางในสต๊อกคุ้มค่า เดินหน้าใช้'E bidding'จัดซื้อปุ๋ย-ยันโปร่งใสตรวจสอบได้  (อ่าน 742 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87601
    • ดูรายละเอียด

กยท.ย้ำขายยางในสต๊อกคุ้มค่า เดินหน้าใช้'E bidding'จัดซื้อปุ๋ย-ยันโปร่งใสตรวจสอบได้


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- พฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม 2561 00:00:51 น.
 
นายเยี่ยม ฤาวโรฤทธิ์ กรรมการการยางแห่งประเทศไทย รักษาการแทนผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย ถึงการขายยางพาราที่มีอยู่ในสต๊อกว่า เป็นการดำเนินงานตามบทบาทภาระหน้าที่ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)การยางแห่งประเทศไทย สอดคล้องยุทธศาสตร์ในการบริหารงานของ กยท. เพื่อรักษา เสถียรภาพด้านราคา และให้เกษตรกรชาวสวนยางขายยางคุ้มค่าต่อการลงทุน โดยทุก ขั้นตอนมีความโปร่ง สามารถตรวจสอบได้ และ กยท.พร้อมที่จะชี้แจงรายละเอียด ขั้นตอนการดำเนินการ ตอบข้อสงสัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น




ส่วนการจัดซื้อปุ๋ยเคมีแจกเกษตรกรชาวสวนยางตามช่วงฤดูกาล ซึ่งใช้วิธีการประมูลมีขั้นตอนล่าช้านั้น เป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุม คณะกรรมการ กยท. ที่เห็นชอบและอนุมัติ เปิดการประมูลผ่านระบบ E bidding ตาม ระเบียบของกรมบัญชีกลางอย่างเคร่งครัดมา เพื่อที่จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม โดยทุกกระบวนการ ทุกขั้นตอนโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้เช่นเดียวกัน
 
สำหรับประเด็นที่มีการเสนอให้สถานบันวิจัยยาง กลับไปสังกัดกรมวิชาการเกษตรตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของ กยท.นั้น รักษาการ แทนผู้ว่าการ กยท.กล่าวว่า การจัดตั้ง กยท.ขึ้นมาเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีวัตถุประประสงค์หลัก เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการยางพาราอย่างเป็นระบบครบวงจร โดยการรวมตัวของ 3 องค์การ คือ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง องค์กรสวนยาง และสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นไปตามพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย ปี 2558
 
"เดิมทั้ง 3 หน่วยงานต่างมีบทบาทหน้าที่ และความสามารถเฉพาะด้านที่ต่างกัน ทั้งด้านการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในการปลูกสร้างสวนยาง และการสนับสนุนอาชีพทางเลือกเสริมในเกษตรกรมีรายได้ ด้านการผลิตโดยการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมาแปรรูปในโรงงานของ กยท. จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงด้านการวิจัยพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรชาวสวนยางและผู้ประกอบการที่สนใจ ดังนั้น จึงได้นำมารวมกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านยางพาราครอบคลุมทั้งระบบ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับเกษตรกรชาวสวนยางในทุกๆด้าน" นายเยี่ยมกล่าวยืนยัน
 
ก่อนหน้านี้ นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย (สยยท.) ได้แสดงความเป็นห่วงในเรื่องการบริหารงานของ กยท. ทั้งในด้านการขายยางพาราที่มีอยู่ในสต๊อก การจัดซื้อปุ๋ยเคมีแจกเกษตรกรชาวสวนยางตามช่วงฤดูกาล และเสนอให้ สถาบันวิจัยยาง ไปสังกัดกรมวิชาการเกษตรตามเดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารของ กยท.