ผู้เขียน หัวข้อ: "โรคระบาดพืช"มหันตภัยป่วนซ้ำเติมทุกข์เกษตรกร  (อ่าน 682 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87587
    • ดูรายละเอียด
"โรคระบาดพืช"มหันตภัยป่วนซ้ำเติมทุกข์เกษตรกร

05 Jul 2019 ที่มา ฐานเศรษฐกิจ


สินค้าเกษตรวิกฤติหนัก บาทแข็งพ่นพิษ ทุบราคาในประเทศดิ่ง ซ้ำร้ายยังเผชิญโรคระบาดมรสุมหนัก ก.เกษตรฯ สั่งจับตาพืชเศรษฐกิจ ยางพารา ข้าวโพด อ้อย ข้าว มันสำปะหลัง มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน โจทย์ใหม่ท้าทายรัฐบาล บานปลายกระทบเศรษฐกิจในประเทศ
 




ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ศัตรูพืชระบาด ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2562  โดยแบ่งออกเป็นชนิด
ุู
1. "ข้าว" ศัตรูพืชระบาด  "หนอนกระทู้สีดำ" ซึ่งมีพื้นที่ระบาด 3 จังหวัด (สุรินทร์ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ) จำนวน  12,371 ไร่ การระบาดลดลง 653 ไร่

2. "มันสำปะหลัง" เผชิญมรสุม 7 โรค รุมสกรัม ได้แก่ โรคเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พื้นที่ระบาด 7 จังหวัด (ลพบุรี ระยอง ชลบุรีสระแก้ว จันทบุรี ลำพูน และนครราชสีมา) จำนวน 695 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 113 ไร่  โรค?ไรแดง? พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด (กาญจนบุรี จันทบุรีสระแก้ว ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และนครราชสีมา) จำนวน 11,366 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 772 ไร่ ?โรคเพลี้ยหอย?พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด (นครราชสีมา จันทบุรี สระแก้ว และชลบุรี) จำนวน 407 ไร่ 

?โรค แมลงนูนหลวง?พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 145 ไร่ ?โรคโคนเน่าหัวเน่า?พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (จันทบุรี) จำนวน 9 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 2 ไร่  ?โรคพุ่มแจ้? พื้นที่ระบาด 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี และ  สระแก้ว) จำนวน 519 ไร่  และ ?โรคใบด่างมันสำปะหลัง? พื้นที่ระบาด 6 จังหวัด (สระแก้ว นครราชสีมา สุรินทร์ ปราจีนบุรี ศรีสะเกษ ชลบุรี และ ฉะเชิงเทรา) จำนวน 17,321.75 ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 7,338.25 ไร่

3.อ้อย มีศัตรูพืช ระบาดหนัก ได้แก่ 1. หนอนกออ้อย พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (กาญจนบุรี) จำนวน 133 ไร่การระบาดเพิ่มขึ้น 83 ไร่  2. ด้วงหนวดยาวพื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน  60 ไร่  3. แมลงนูนหลวง พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 160 ไร่  4. จักจั่น พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (สุพรรณบุรี) จำนวน 1,453 ไร่  5. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดพื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 70 ไร่ และ6. โรคใบขาว พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ราชบุรี) จำนวน 22 ไร่

4.ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  พบการระบาดศัตรูพืช 1. 1. หนอนเจาะลำต้นหรือหนอน เจาะฝักพื้นที่ระบาด 2 จังหวัด (ราชบุรีและพะเยา) จำนวน  46,578ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 46,553 ไร่  2. หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดพบการระบาดในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จำนวน 446,065ไร่ การระบาดเพิ่มขึ้น 154,709 ไร่

ด้าน นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยว่า ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ในประเทศไทยสำรวจพบพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดระบาดเกินกว่า 60% พื้นที่ 40 กว่าจังหวัดแล้ว อาทิ นครราชสีมา กาญจนบุรี พิษณุโลก เชียงใหม่ พิจิตร น่าน ลำพูน ฯลฯ ความเสียหายจำนวนไร่มีการตรวจสอบข้อมูลกันอยู่เนื่องจาก ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? สามารถบินได้ไกลเฉลี่ย 100 กิโลเมตรและหากมีลม พายุ จะไปได้ไกลและเร็วตามแรงลม พายุ และด้วย

?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? มีอายุตั้งแต่ 30 - 45 วัน มีวัยในการเจริญพันธุ์อยู่ประมาณ 5 ช่วงวัย เข้าทำลายตั้งแต่รากถึงยอดแตกต่างตามช่วงวัย ช่วงวัยที่ 3 จะทำลายและระบาดรุนแรงสุดด้วยวัยนี้จะเข้าไปอยู่ในซอกใบแล้วกัดกินทะลุยอด ช่วงที่อ่อนแอและควรทำลายเป็นช่วงระยะไข่ เนื่องจาก ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ทำลายข้าวโพดในแต่ละช่วงวัยไม่เหมือนกันความเสียหายที่เกิดขึ้นในขณะนี้ไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิงจึงไม่สามารถประกาศเป็นภัยพิบัติควบคุมโรคไม่ได้

ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการงานวิจัยที่จะพัฒนาต่อยอดเอามาป้องกัน เช่น พันธุ์ข้าวโพดต้านทานที่ไม่ใช่ GMO , สารฟีโรโมนล่อตัวเต็มวัยซึ่งทำลายต้นเหตุโดยในประเทศไทยยังไม่มีการทดลองและสั่งนำเข้ามาใช้ , องค์ความรู้ที่ต้องเร่งสร้างให้กับเกษตรกรใช้สารชีวภัณฑ์/สารเคมีที่มีประสิทธิภาพควรใช้ระยะไหนช่วงเวลาใดด้วยสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ในประเทศไทยฉีดเกิน 3 ครั้งหนอนจะดื้อยา , การใช้วิธีผสมผสานกำจัดและทำลายควรทำเป็นระบบและเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องช่วยกันทุกภาคส่วน

?ข้าวโพดเป็นอาหารที่ ?หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด? ชื่นชอบที่สุด หากไม่ปลูกข้าวโพดใช่ว่าจะหยุดวงจรมันได้ เพราะมันยังหาพืชชนิดอื่นกินได้อีกกว่า 80 ชนิด เช่น ข้าว ข้าวฟ่าง กะหล่ำ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ฯลฯ หากควบคุมไม่อยู่จนมันเป็นศัตรูพืชประจำถิ่นหายนะจะเกิดทุกวงการไม่ว่าข้าว พืชสวน พืชไร่ ? นายเติมศักดิ์ กล่าว

?มะพร้าว? มีการระบาด  1.?โรคหนอนหัวดำ? พื้นที่ระบาด 25 จังหวัด จำนวน 5,227 ไร่  2.โรคแมลงดำหนาม พื้นที่ระบาด 27 จังหวัด จำนวน  40,942 ไร่ 3. ด้วงแรด พื้นที่ระบาด 20 จังหวัด จำนวน  10,159 ไร่

?ปาล์มน้ำมัน? ศัตรูระบาด   1. หนอนหัวดำ พื้นที่ระบาด 2 จังหวัด จำนวน  17 ไร่ 2. หนอนปลอกเล็ก พื้นที่ระบาด 2 จังหวัด จำนวน 57 ไร่ 3. หนอนหน้าแมว พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา) จำนวน 20 ไร่ 4. ด้วงแรด พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด จำนวน 842 ไร่ 5. ด้วงกุหลาบ พื้นที่ระบาด 4 จังหวัด จำนวน  77 ไร่ 6. หนู พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี) จำนวน 140 ไร่ 7. โรคลำต้นเน่า พื้นที่ระบาด 1 จังหวัด (กระบี่) จำนวน  45 ไร่

นอกจากนี้ยังมี ?ยางพารา? เผชิญโรครากขาว พื้นที่ระบาด 5 จังหวัด จำนวน 1,119 ไร่ ?ทุเรียน? มีโรงหนอนเจาะลำต้น และโรคหนอนเจาะผล และที่หนักสุด โรครากเน่าโคนเน่า ระบาดหนักกว่า 1 หมื่นไร่ 2 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรีและตราด
 
ไร่กาแฟอะราบิกากำลังเผชิญ "มอด" ระบาดหนัก

นายจำรอง ดาวเรือง  รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร    กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกกาแฟกาแฟอะราบิกาในจังหวัดเชียงรายซึ่งถือเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศ  โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 37,000 กว่าไร่และกำลังประสบปัญหาการระบาดของมอด เข้าเจาะทำลายเมล็ดกาแฟอย่างหนักครอบคลุมในหลายพื้นที่    ซึ่งมอดเจาะผลกาแฟเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กที่มีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว โดย 1 ปี ขยายพันธุ์ได้ 8-9 รุ่น เพศเมียวางไข่ได้ครั้งละ 20-80 ฟอง สามารถเข้าทำลายเมล็ดกาแฟได้ตั้งแต่ในระยะผลอ่อน

ความเสียหายรุนแรงจะเกิดกับเนื้อเยื่อภายในผลในระยะผลกำลังสุก ทำให้เมล็ดเป็นรูพรุน โรคพืชต่างๆ เข้าทำลายซ้ำ เมล็ดเสียคุณภาพ และทำให้ผลร่วงหล่นก่อนกำหนด ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพของกาแฟลดลงอย่างมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรอย่างมาก  ได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาการป้องกันและกำจัดมอดเจาะผลกาแฟต่อไป ปัจจุบันกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทำรายได้ให้เกษตรกรปีละประมาณ 5,500 ล้านบาท   
 
"สวนพริก" ให้ระวังโรคกุ้งแห้ง

กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพริกเตรียมรับมือการระบาดของโรคกุ้งแห้ง สามารถพบได้ในระยะที่ต้นพริกเจริญเติบโตทางลำต้นจนถึงในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต มักพบแสดงอาการบนผลพริกที่เริ่มสุกหรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี เริ่มแรกจะพบจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่สีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน กรณีที่สภาพอากาศชื้น จะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนเก็บเกี่ยว หากพบอาการที่ผลอ่อน จะทำให้ผลพริกโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง  หากพบเริ่มระบาด ให้เก็บผลพริกที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก และควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรของเชื้อสาเหตุโรค

ด้านนายสุรจิตต์ อินทรชิต รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ภายหลังเป็นประธานในที่การประชุมทางไกลออนไลน์ (web conference) เรื่องการชี้แจงแนวทางการควบคุม กำจัด ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคระบาดในพืชและสัตว์ เมื่อวันที่ 4 ก.ค.ที่่ผ่านมา เพื่อติดตามสถานการณ์โรค และจะหาวิธีป้องกันอย่างไร เนื่องจากโรคระบาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นต้องมีการบูรณาการหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้กฎหมายต่างๆ เป็นการทำงานเชิงรุก ไม่ได้นิ่งนอนใจ
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะกระทบรายได้เกษตรกรโดยตรง ซ้ำเติมราคาตกต่ำ ต้องวัดฝีมือกันว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหาสำเร็จหรือไม่