ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 10 กุม???าพันธ์ พ.ศ. 2557  (อ่าน 1534 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82398
    • ดูรายละเอียด





วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  10  กุม???าพันธ์ พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1. ส???าพ???ูมิอากาศ- ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้าปกคลุม???าคตะวันออกและ???าคใต้ เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะนี้  ส่วน???าคเหนือและ???าคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังมีอากาศหนาวเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า โดย???าคใต้มีฝน ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
2. การใช้ยาง- ประธานบริษัทสื่อสากล จำกัด และประธานจัดงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 31 หรือ มอเตอร์เอ็กซ์โป เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่มีความชัดเจน ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ปีนี้คาดว่าจะสามารถทำยอดขายได้เพียง 1.1 ล้านคัน ลดลงจากเดิมที่ประเมิน ร้อยละ 10-12 เป็นร้อยละ 15 จะเห็นได้จากช่วงเดือน มกราคม ที่ผ่านมา ตลาดรวมมีปริมาณการขายลดลงกว่า ร้อยละ 60 หากการเมืองไม่ยืดเยื้อ คาดว่าตลาดรถยนต์จะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาส 4 ของปีนี้
3. สต๊อคยาง- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 9 กุม???าพันธ์ มีจำนวน 207,298 ตัน เพิ่มขึ้น 360 ตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.17 จากระดับ 206,998 ตัน ณ วันที่ 26 มกราคม 2557
- สต๊อคยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 31 มกราคม เพิ่มขึ้น 1,621 ตัน หรือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.66 แตะระดับ 14,425 ตัน จาก 12,804 ตัน ณ วันที่ 20 มกราคม 2557
4. เศรษฐกิจโลก- กระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกระหว่างช่วงเทศกาลตรุษจีน ระยะเวลา 1 สัปดาห์ ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- กระทรวงสถิติอินเดีย คาดว่า GDP ในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดลงในเดือน มีนาคม จะขยายตัวขึ้น ร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับสถิติต่ำสุดในรอบ 10 ปี ที่ ร้อยละ 4.5 ในปีงบประมาณก่อน  อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงต้องเผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
- สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน เปิดเผยว่า การผลิต???าคอุตสาหกรรมของสเปนปรับตัวลดลง ร้อยละ 1.8 ในปี 2556 เมื่อเทียบรายปี
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) รายงานว่า สินเชื่อผู้บริโ???คสหรัฐฯ ขยายตัวมากที่สุดในรอบ 10 เดือน ในเดือน ธันวาคม 2556 โดยได้รับแรงหนุนจากการจัดจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เฟด ระบุว่า สินเชื่อผู้บริโ???คสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.3 ในเดือน ธันวาคม หลังจากที่ขยายตัว ร้อยละ 4.8 ในเดือน พฤศจิกายน
- ผลผลิต???าคอุตสาหกรรมในเยอรมนี เดือน ธันวาคม 2556 ปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้านี้  ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตใน???าคธุรกิจพลังงานและ???าคอุตสาหกรรมการผลิตทรุดตัวลง หลังจากที่ขยายตัว ร้อยละ 2.4 ในเดือนก่อนหน้า
5. อัตราแลกเปลี่ยน- เงินบาทอยู่ที่ 32.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยนอยู่ที่ 102.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.42 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
6. ราคาน้ำมัน- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน มีนาคม ปิดตลาดที่  99.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปรับเพิ่มขึ้น 2.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากมีกระแสคาดการณ์ว่าอากาศที่หนาวจัดในสหรัฐฯ จะทำให้ความต้องการน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
7. การเก็งกำไร- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน มีนาคม 2557 อยู่ที่ 220.6 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน กรกฎาคม 2557 อยู่ที่ 224.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 206.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
8. ข่าว- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เผยตัวเลขจ้างงานนอก???าคการเกษตร ประจำเดือน มกราคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยเกินคาดในอัตรา 113,000 ตำแหน่ง ขณะที่อัตราว่างงาน ลดลงสู่ระดับ ร้อยละ 6.6 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2551
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องให้ส???าคองเกรสของสหรัฐฯ เร่งดำเนินการในการเพิ่มอำนาจการกู้ยืมแก่รัฐบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งและเลี่ยงผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 0.50 บาท ตามตลาดต่างประเทศ ขณะที่???าคใต้บางส่วนเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ผลผลิตเริ่มลดลงประมาณ ร้อยละ 20-30 และคาดว่าประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะมีการหยุดกรีดบ้างในบางพื้นที่
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับได้แรงหนุนจากนักลงทุนเข้าซื้อเพื่อเก็งกำไรหลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยอัตราว่างงาน  เดือน มกราคม ปรับลดลงสู่ระดับ ร้อยละ 6.6 จากระดับ ร้อยละ 6.7 ในเดือนก่อน และยอดค้าปลีกจีนปรับตัวสูงขึ้นเกินคาด  นอกจากนี้???าคใต้บางพื้นที่เริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ผลผลิตเริ่มลดลง   อย่างไรก็ตาม สต๊อคยางจีนและญี่ปุ่นที่อยู่ในระดับสูงยังเป็นปัจจัยกดดันให้ราคายางไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากในระยะนี้
คณะทำงานวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา






































































































































[/td][/tr][/table]