ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1279 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88231
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  23  พฤษภาคม  พ.ศ. 2557
 
[/size]ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
[/size]1.   สภาพภูมิอากาศ
 
[/size]- จากอิทธิพลลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงทำให้ประเทศไทยฝั่งตะวันตกมี ฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
[/size]2.   การใช้ยาง
 
[/size]- กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์   สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า เดือนเมษายน สามารถส่งออกรถยนต์ได้ 69,804 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.34 จากเดือนเมษายน 2556 แต่ลดลงร้อยละ 38.39 จากเดือนมีนาคม 2557 เนื่องจากเดือนเมษายน มีวันทำงานน้อยกว่าเดือนมีนาคม
 
[/size]3.เศรษฐกิจโลก
 
[/size]- มาร์กิต เปิดเผยว่า   ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) ภาคการผลิตเบื้องต้นเดือนพฤษภาคมของสหรัฐฯ ขยายตัวขึ้นสู่ระดับ 56.2 จากเดือนเมษายน ที่ระดับ 55.4   ซึ่งมากกว่าที่คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 55.5 เนื่องจากอุสงค์ในภาคการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งนับเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคการผลิตจะช่วยหนุน GDP ของสหรัฐฯ ให้แข็งแกร่งในไตรมาส 2 ปีนี้- ผู้เชี่ยวชาญจากเอกชน 8 ราย   คาดการณ์ว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจที่แท้จริงของญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2557 จะลดลงสู่ระดับเฉลี่ย ร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4 และลดลงจากระดับ ร้อยละ 2.3 ของปี 2556 หลังจากที่ได้มีการขึ้นภาษีการบริโภค เมื่อวันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา- รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เมื่อวันที่ 29-30 เมษายน ระบุว่าเฟดได้เริ่มหารือถึงทางเลือกต่าง ๆ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย   ขณะที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น แต่ไม่ได้ระบุว่าการดำเนินการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้- ผลสำรวจของมาร์กิต   แสดงให้เห็นว่า
 
  • [/size]ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI)   เบื้องต้นของฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคม ลดลงแตะ 49.3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 3   เดือน จาก 50.6 ในเดือนเมษายน
  • [/size]ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   ของเยอรมนีเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคม ทรงตัวที่ 56.1   ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนเมษายน โดยดัชนีภาคการผลิตเบื้องต้นในเดือนพฤษภาคม   ลดลงที่ 52.9 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากระดับ 54.1 ในเดือนเมษายน ขณะที่ดัชนี   PMI ภาคบริการเบื้องต้นเดือนพฤษภาคม ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 56.4 ซึ่งสูงสุดในรอบ 35 เดือน เมื่อเทียบกับระดับ 54.7 ในเดือนเมษายน
  • [/size]ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   เบื้องต้นของยูโรโซนในเดือนพฤษภาคม ลดลงแตะ 53.9 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 2 เดือน จาก   54.0 ในเดือนเมษายน โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตเบื้องต้นลดลงที่ 52.5 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 6 เดือน จากระดับ 53.4 ในเดือนก่อนหน้า และดัชนี PMI   ภาคบริการเบื้องต้นปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 53.5 ซึ่งสูงสุดในรอบ 35 เดือน เมื่อเทียบกับระดับ 53.1 ในเดือนเมษายน
[/size]4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
[/size]- เงินบาทอยู่ที่ 32.51   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 และเงินเยนอยู่ที่ 101.77 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.29 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

 
[/size]5.   ราคาน้ำมัน
 
[/size]- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   มิถุนายน ปิดตลาดที่ 103.74 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.33 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล   หลังจากสหรัฐฯ เปิดเผยว่าจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์ คาดการณ์ไว้    อย่างไรก็ตามความแข็งแกร่งของข้อมูลด้านการผลิตของสหรัฐฯ ได้สกัดแรงลบของสัญญาน้ำมันดิบเอาไว้ได้ในระหว่างวัน
 
[/size]6.   การเก็งกำไร
 
[/size]- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือน มิถุนายน 2557 อยู่ที่ 195.5   เยนต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลงและส่งมอบเดือน ตุลาคม 2557 อยู่ที่ 204.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อกิโลกรัม- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 209.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
[/size]7. ข่าว
 
[/size]- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่ายอดขายบ้านมือสองเดือนเมษายน ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3   แตะระดับ 4.65 ล้านยูนิต ซึ่งนับเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 9 เดือน ที่ยอดขายบ้านมือสองปรับตัวเพิ่มขึ้น- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุด วันที่ 17 พฤษภาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 28,000 ราย แตะที่ 326,000 ราย ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นสู่ ระดับ   310,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐฯ เริ่มเข้าสู่ภาวะผันผวน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นที่จับตาอย่างมากจากนักลงทุนในตลาดการเงิน
 
[/size]8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
[/size]- ราคาปรับตัวสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะต้นยางให้ผลผลิตลดลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายต้องเร่งซื้อเพื่อเพิ่มสต๊อคในโรงงาน
 
   [/size]แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะได้รับปัจจัยหนุนจากเงินบาทและเงินเยนอ่อนค่า ประกอบกับนักลงทุนขานรับความแข็งแกร่งของภาคการผลิตจีนและสหรัฐฯ ซึ่งส่งสัญญาณถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งอุปทานยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย จากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ต้นยางให้ผลผลิตลดลง  อย่างไรก็ตามความอ่อนแอของข้อมูลด้านแรงงานสหรัฐฯ และกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจีนอาจจะใช้มาตรการคุมเข้มถึงสภาพคล่องหลัง จากภาคการผลิตจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 เดือน ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
                                  คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]