ผู้เขียน หัวข้อ: สกย.ติดปีกครูยางอีสาน - เหนือ รุกพัฒนาการกรีดเพิ่มผลผลิต  (อ่าน 1938 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88224
    • ดูรายละเอียด

สกย.ติดปีกครูยางอีสาน - เหนือ รุกพัฒนาการกรีดเพิ่มผลผลิต


นายประสิทธิ์  หมีดเส็น  รักษาการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) เปิดเผยว่า ขณะนี้พื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ เริ่มที่จะทยอยเปิดกรีดแล้ว แต่ผลผลิตน้ำยางที่ได้ยังต่ำกว่ายางพาราที่ปลูกในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก  ทั้งนี้ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากความเหมาะสมของพื้นที่ที่ปลูกยาง ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ตลอดจนพันธุ์ยางที่เลือกใช้ และที่สำคัญเกษตรกรส่วนใหญ่ยังกรีดยางต้นเล็กอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง  และใช้ยางพันธุ์ดีตามที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ และกรีดยางเมื่อต้นยางเติบโตได้ขนาด ก็จะให้ผลผลิตน้ำยางสูงขึ้น


นอกจากนี้ การกรีดยางก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันเพราะที่มีต่อผลโดยตรงต่อผลผลิตน้ำยางซึ่งต้องยอมรับความจริงว่าเกษตรกรส่วนหนึ่งในพื้นที่ปลูกยางใหม่ยังขาดทักษะ ความรู้ และความชำนาญในการกรีดยาง เมื่อลงมือกรีดยางผิดวิธี จึงทำให้อายุการกรีดของต้นยางลดลง เนื่องจากหน้ากรีดเสียหาย ทำให้ผลผลิตน้ำยางที่ได้ก็ลดน้อยลง  ในที่สุดอาจจะต้องโค่นยางทิ้งเร็วกว่ากำหนด ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อาจไม่คุ้มค่ากับการลงทุน


อย่างไรก็ตาม สกย. พยายามที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน โดยได้ถ่ายทอดความรู้ผ่านทางครูยาง ซึ่่งครูยางนอกจากจะได้รับการเสริมสร้างองค์ความรู้ ทักษะ ด้านยางพาราอย่างครบวงจรแล้ว ยังได้ฝึกทักษะด้านการปฏิบัติงานภาคสนาม  โดยเฉพาะการกรีดยางที่ถูกต้อง  เพื่อให้สามารถแนะนำและถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งทักษะด้านยางพาราแก่เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ  ปัจจุบัน สกย. มีครูยาง ทั่วประเทศ ประมาณ 12,000 คน โดยเป็นครูยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือประมาณ 5,400 คน ทั้งนี้ ครูยาง 1 คนจะดูแลเกษตรกรประมาณ 100 คน  นอกจากนี้ สกย. ยังได้ดำเนินการคัดเลือกครูยางทั้งสองภาค จำนวน 540 คนมาต่อยอดให้เป็น Smart Rubber Farmer  เพื่อพัฒนาศักยภาพ ด้านการเพิ่มมูลค่าผลผลิต การส่งออก  รวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการเพาะปลูก การแปรรูปการผลิต และการตลาดได้ด้วยตนเอง


ทั้งนี้เกษตรกรที่ไม่มีความรู้ ไม่มีทักษะและความชำนาญในการกรีดยาง สามารถสอบถามความรู้และฝึกทักษะได้จากครูยาง หรือเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ตลอดจนเจ้าหน้าที่ สกย.ทั่วประเทศ.


ที่่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (วันที่ 27 พฤษภาคม 2557