ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1150 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82792
    • ดูรายละเอียด

ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
  - ทั่วทุกภาคของประเทศยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกรรโชกแรง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
- ข้อมูลที่ได้รับเปิดเผยระบุว่า ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น 3 ราย มียอดการผลิตในต่างประเทศเดือนเมษายนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากอุสงค์ที่แข็งแกร่งในเอเซียและอเมริกาเหนือ โดยโตโยต้ามอร์เตอร์ คอร์ป มียอดการผลิตในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 จากปีก่อน เป็นการขยายตัวขึ้น 8 เดือนติดต่อกัน ส่วนนิสสันเพิ่มขึ้น 10.8 และฮอนด้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7

3. เศรษฐกิจโลก
- องค์การ แรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เปิดเผยในรายงานประจำปีว่า จำนวนผู้ว่างงานทั่วโลกปี 2556 อยู่ต่ำกว่าระดับ 200 ล้านคนเพียงเล็กน้อย และคาดว่าในปี 2557 จะเพิ่มขึ้นอีก 3.2 ล้านคน
- สมาชิกคณะกรรมการกำหนดนโยบายธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวเตือนถึง
 ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น โดยอ้างถึงความเป็นไปได้ที่การส่งออกอาจขยายตัวช้ากว่าที่คาด และการบริโภคส่วนบุคคลอ่อนแอลง

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยการประเมินครั้งที่ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวม- ภายในประเทศ (GDP) ไตรมาสแรก ปี 2557 โดยระบุว่า GDP หดตัวร้อยละ 1.0 เป็นการหดตัวลงครั้งแรกในรอบ 3 ปี และเป็นการหดตัวที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรก ปี 2554 เนื่องจากภาคเอกชนปรับลดสต๊อคสินค้าคงคลัง นอกจากนี้อากาศที่หนาวเย็นยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน โดยมีรายงานว่ามูลค่าสต๊อคสินค้าคงคลังภาคเอกชนไตรมาสแรกอยู่ที่ 4.9 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ลดลงมากจากประมาณการครั้งแรกที่ 8.74 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- กระทรวงพาณิชย์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยลดลงมากกว่าที่คาดว่าจะลดลงเพียงร้อยละ 3.3 เป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิเมื่อ เดือนมีนาคม 2554 เนื่องจากการทรุดตัวของยอดจำหน่ายรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บ่งชี้ว่าผู้บริโภคลดการซื้อสินค้า หลังการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2557
- กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยในรายงานเบื้องต้นว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 2.5 จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 2 เดือน - กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายนปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกัน เนื่องจากการที่รัฐบาลประกาศขึ้นภาษีอุปโภคบริโภคได้ทำให้ราคาสินค้าปรับตัว สูงขึ้นเป็นวงกว้าง


4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 32.79 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.10 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ - เงินเยนอยู่ที่ 101.61 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.05 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5.   ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่ 103.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.86 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากทางการสหรัฐฯ รายงานว่าสต๊อคน้ำมันดิบเมืองคุชชิง ซึ่งเป็นท่าส่งมอบสัญญาน้ำมันตลาด Nymex ได้ปรับตัวลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อสัปดาห์ก่อน
 


6.   การเก็งกำไร
- ราคา ตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 188.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 197.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.5 เยนต่อกิโลกรัม - ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 209.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว
- กระทรวง แรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ปรับตัวลดลง 27,000 ราย อยู่ที่ 300,000 ราย ลดลงมากกว่าที่คาดว่าจะลดลงอยู่ที่ 318,000 ราย สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง - สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเดือนเมษายนปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.4 แตะที่ 97.8 จุด เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนมีนาคม เป็นสัญญาณว่าตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ กำลังกระเตื้องขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะซบเซาในช่วงต้นปี


8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 - ราคายางน่าจะปรับตัวลดลง เนื่องจากราคาต่างประเทศปรับตัวลดลงมาก โดยเฉพาะตลาดล่วงหน้าสิงคโปร์ หากเปลี่ยนเดือนส่งมอบจะปรับลดลงถึง 8.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ดังนั้นแม้ผลผลิตน้อยแต่ราคาก็ต้องปรับลดลงบ้าง เพื่อชดเชยจากการซื้อเกินราคามาอย่างต่อเนื่อง

 
   แนวโน้มราคา ยางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับราคาตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงกดดันจากจีนผู้ใช้ยางรายใหญ่ยังคงเผชิญกับช่วงเศรษฐกิจขาลง และเศรษฐกิจญี่ปุ่นมีความเสี่ยงในระยะสั้นจากการปรับขึ้นภาษีการขาย ส่งผลให้ยอดค้าปลีกปรับลดลงต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากปัจจัยดังกล่าวก่อให้เกิดกระแสความกังวลต่ออุปทานยางส่วนเกินที่จะเพิ่ม ขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคายางไม่ปรับลดลงมากในระยะนี้ เพราะยังมีปัจจัยหนุนจากเงินบาทอ่อนค่า ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง และนักลงทุนมีมุมมองเป็นบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ

                                  คณะทำงานวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดและราคายาง  สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 30, 2014, 12:46:03 PM โดย Rakayang.Com »