ผู้เขียน หัวข้อ: RSS3 รอปัจจัยพื้นฐาน  (อ่าน 887 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82945
    • ดูรายละเอียด
RSS3 รอปัจจัยพื้นฐาน
« เมื่อ: มิถุนายน 10, 2014, 02:50:12 PM »

RSS3 รอปัจจัยพื้นฐาน




ประเด็นที่สำคัญ หลังจากที่ ECB ประกาศการใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบ เพื่อกระตุ้นให้ธนาคารกระจายเงินออกมามากขึ้น ให้ปล่อยกู้มากขึ้น เพื่อหวังกระตุ้นเศรษฐกิจแก้ไขปัญหาเงินฝืด ความเห็นส่วนตัวคาดว่าอาจจะได้เห็น Fund Flow ออกมาสู่ตลาด Emerging Market มากขึ้น หลังจากตลาดหุ้น Dow Jone ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นรับข่าว แต่ตลาด Commodity อาจจะได้รับ Impact ตามหลังตลาดหุ้นอีกที


ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังผันผวน (6 มิ.ย.) นักลงทุนยังรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรที่จะประกาศช่วงค่ำวันศุกร์เวลาประเทศไทย หลังจากที่ตัวเลขการจ้างงานจาก ADP ยังไม่สูงกว่าที่คาดไว้และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อน และยังต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจในช่วงสัปดาห์นี้อีกที เนื่องจากหลายฝ่ายยังมีความเห็นขัดแย้งในภาพรวมเศรษฐกิจจีนว่าเริ่มฟื้นตัวแล้วหรือไม่


หลังจากที่มีข่าวว่าจะชะลอการระบายสต็อกยางสองตันออกไป และกระทรวงกระเกษตรมีแผนแก้ไขปัญหายางพารายื่นเสนอต่อคณะ คสช. ไปเบื้องต้น ทำให้เป็นผลดีทางจิตวิทยาต่อราคายางพารา แต่ยังต้องติดตามดูแผนระยะยาวในการแก้ไขปัญหายางพารา และกระบวนการที่จะหาวิธีการใช้ประโยชน์จากสต็อกยางสองแสนตัน ซึ่งความเห็นส่วนตัวมองว่าควรจะเป็นการใช้เป็นวัตถุดิบภายในประเทศ มากกว่าที่จะระบายออกสู่ตลาด เพราะถ้าระบายออกสู่ตลาด อาจจะเกิด Over Supply ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อราคายางพารา


บทวิเคราะห์ยางล่วงหน้า RSS3 (AFET)


ปัจจัยทางเทคนิค


แนะนำ ราคา RSS3 อาจจะมีการ Rebound ขึ้นไปทดสอบแนวต้าน 63.50 ว่าจะฝ่าไปได้หรือไม่ แต่ต้องดู TOCOM ประกอบ // Signal TOCOM 195/190


แนวต้าน : 64.80 // 63.50 บาท


แนวรับ : 62.50 // 61.50 บาท


ปัจจัยที่ต้องติดตาม


9 มิ.ย. GDP ไตรมาสที่ 1/2557 (ประมาณการครั้งที่ 2) ญี่ปุ่น


10 มิ.ย. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จีน


             ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) จีน


12 มิ.ย. ยอดค้าปลีก สหรัฐ


             จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน สหรัฐ


13 มิ.ย. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ญี่ปุ่น


             ยอดค้าปลีก จีน


             ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม จีน


             ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) สหรัฐ


12-13 มิ.ย. การประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น


ที่มา : MSN (วันที่ 10 มิถุนายน 2557)