ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 996 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  3  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t]
[/t]
วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก   และภาคใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกกระจายถึงเกือบทั่วไปร้อยละ 60-70  ของพื้นที่ และตกหนักบางแห่งบริเวณ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่
 
2.   การใช้ยาง
 
- ยอดขายรถยนต์ของสหรัฐฯ   ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งในเดือนกันยายน โดยเจเนรัลมอเตอร์ส และไครสเลอร์   มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 ในสหรัฐฯ แตะที่ 223,437 คัน เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าขณะที่ฟอร์ดมียอดขายลดลงร้อยละ 3.0 แตะที่ 180,175 คัน   ข้อมูลจากเจเนรัลมอเตอร์ส เปิดเผยว่าทางบริษัทมียอดขายรถทั้งสิ้น 223,437 คัน   ในเดือนกันยายน ด้านไครสเลอร์มียอดขาย 169,890 คัน ซึ่งเป็นสถิติสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2548
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางยุโรปมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ   ร้อยละ 0.05 ในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด ขณะที่นักลงทุนรอดูการแถลงข่าวของประธานธนาคารกลางยุโรปว่าจะเปิดเผยราย ละเอียดแผนการซื้อสินทรัพย์ประเภทใดบ้าง รวมทั้งวงเงินเท่าใดและระยะเวลาในการซื้อสินทรัพย์นั้นจะยาวนานเพียงใด  นอกจากนี้ธนาคารกลางยุโรปยังได้คงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ที่ระดับติดลบ ร้อยละ0.2   และคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ที่ระดับติดลบ ร้อยละ 0.3
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ   เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนสิงหาคม ลดลงร้อยละ 10.1 ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่ปี   2535 และมากกว่าที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 9.3
- ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB)   ได้ออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุมเมื่อวานนี้ อีซีบีจะเริ่มซื้อตราสารหนี้ที่ค้ำประกันด้วยสินเชื่อคุณภาพจากธนาคาร พาณิชย์ในช่วงกลางเดือนตุลาคม และจะซื้อตราสารหนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ โดยมีเป้าหมายที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในยูโรโซน ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการอย่างน้อย 2 ปี
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้   เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค   (CPI) ของเกาหลีใต้ในเดือนกันยายน ปรับตัวขึ้น ร้อยละ 1.1   เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นในอัตราที่ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
- ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทย เดือน กันยายน 2557 อยู่ที่ระดับ 79.2   ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัวดี   ทั้งสภาพยุโรปและญี่ปุ่น ขณะที่จีนเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับรัฐบาลจีนมีนโยบายลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจส่งผลให้คำสั่งซื้อ สินค้าลดลง   เห็นได้จากราคายางพาราที่ปรับตัวลง
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.45   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.05 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนอยู่ที่ 108.78 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่า 0.21 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   พฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 91.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงไปแตะ ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน   2556 ในระหว่างวัน สำหรับสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ที่ตลาดลอนดอนลดลง 0.74 ดอลลาร์   ปิดที่ 93.42 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM    ส่งมอบเดือน พฤศจิกายน 2557 เปิดตลาดที่ 171.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น0.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน มีนาคม 2558 เปิดตลาดที่ 175.9   เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.5 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 150.20   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.20 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDCI) เปิดเผยว่า ผลทดสอบอีโบลาของผู้ป่วยรายหนึ่งในเท็กซัสออกมาเป็นบวก ส่งผลให้ผู้ป่วยคนดังกล่าวกลายเป็นผู้ติดเชื้ออีโบลารายแรกในสหรัฐฯ ซึ่งสร้างความวิตกให้แก่นักลงทุน
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 27 กันยายน 2557 ลดลง 80,000 ราย สู่ระดับ 287,000 ราย สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นแตะ 297,000 ราย
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางน่าจะทรงตัวเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เพราะแม้ว่าราคาต่างประเทศออกมาไม่ดี แต่ผู้ประกอบการของไทยบางรายยังมีความต้องการ เพราะมีการขายล่วงหน้าไว้ ขณะที่ผลผลิตยางมีน้อย
 
 
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า และสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยมีฝนตกชุก เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐฯ และยูโรโซน ประกอบกับยอดจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่นักลงทุนยังคงติดตามเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกง และการแก้ไขปัญหาราคายางทั้งระบบของไทยอย่างใกล้ชิด
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
[/td][/tr][/table]