ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางตลาดกลางหาดใหญ่ วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1034 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  7  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1.   สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคใต้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งร้อยละ 70-80 ของพื้นที่  ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี   นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง และสตูล   ต้องระวังน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2.   การใช้ยาง
 
- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ของญี่ปุ่น   เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์นำเข้าของญี่ปุ่นในเดือนกันยายน ซึ่งรวมถึงรถยนต์ที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นในต่างประเทศปรับตัวลงร้อยละ   1.4 เมื่อเทียบรายปีสู่ระดับ 36,927 คัน
 
3.เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารโลก เปิดเผยว่า ธนาคารได้ปรับลดคาดการณ์เป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนลงเหลือ ร้อยละ   7.4 ในปี 2557 และร้อยละ7.2 ในปี 2558 ขณะที่จีนเดินหน้าปฏิรูปเชิงโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาความเปราะบางทางการ เงิน   และข้อจำกัดต่าง ๆ  อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงแบบค่อยเป็นค่อยไป และจะไม่ทรุดตัวลงรุนแรง
- กระทรวงเศรษฐกิจของเยอรมนี   ระบุว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีในเดือนสิงหาคม หดตัวลงร้อยละ 5.7 โดยลดลงหนักสุดนับตั้งแต่ปี 2552 และย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 2.5 ซึ่งบ่งชี้ถึงความเสี่ยงที่เศรษฐกิจเยอรมนีจะชะลอตัวลง
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ   (IMF) กล่าวเตือนว่าเศรษฐกิจโลกอ่อนแอกว่าที่ได้ประเมินไว้ในช่วงต้นปี พร้อมเรียกร้องให้มีการลงทุน 6 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลกในช่วง 15 ปีข้างหน้า
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน   และสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือนกันยายน ที่ 54.0 ลดลง 0.4 จุด จากเดือนสิงหาคม
- นักเศรษฐศาสตร์สหรัฐรายหนึ่ง ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของคณะกรรมการธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)   คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง  อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ และอังกฤษ มีแนวโน้มที่ดีขณะที่เศรษฐกิจจีนน่าจะปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเศรษฐกิจยูโรโซนเผชิญกับความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับตัวเลขว่างงานที่ค่อนข้างสูง ขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่หลายประเทศมีแนวโน้มย่ำแย่ต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่า
 
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ   จะขายตัวเกินร้อยละ 3.0 ในครึ่งปีหลัง และจะขยายตัวร้อยละ 2.9 ในปี 2558
  • เศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวร้อยละ   3.1 ในปี 2557
  • เศรษฐกิจยูโรโซน   จะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 ในปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 1.1 ในปี 2558 และร้อยละ 1.5   ในปี 2559
  • เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงแตะร้อยละ   7.3 ในปี 2557 และร้อยละ 7.1 ในปี 2558 เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาลง
- ดัชนีภาคบริการสหรัฐฯ เดือน   กันยายน จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) ลดลงแตะระดับ 58.6 จากระดับเดือนสิงหาคม   ที่ร้อยละ 59.6 ในขณะที่การคาดการณ์ว่า ดัชนีภาคบริการของ ISM จะขยายตัวในช่วง 56.0-60.2
 

 
- ผลสำรวจของมาร์กิตแสดงให้เห็นว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ(PMI) รวมภาคการผลิตและบริการของยูโรโซนในเดือนกันยายน ปรับตัวลงแตะ 52.0 จาก 52.5   ในเดือนสิงหาคม และต่ำกว่าตัวเลขเบื้องต้นเดือนกันยายน ที่ 52.3 โดยดัชนี   PMI ภาคบริการของยูโรโซนปรับลดลงแตะ 52.4 จากระดับ 53.1 ในเดือนสิงหาคม สำหรับดัชนี PMI ภาคการผลิตปรับลดลงแตะ   50.3 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 14 เดือน จากระดับ 50.7 ในเดือนสิงหาคม
- กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐฯ รายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าสินค้าและบริการของสหรัฐฯ ในเดือนสิงหาคม ปรับตัวลดลง ร้อยละ 0.5 จากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ 4.01   หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2557 หรือในรอบ 7   เดือน เนื่องจากการส่งออกขยายตัวมากกว่าการนำเข้า โดยยอดส่งออกของสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ยอดการนำเข้าปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกยูโรโซนในเดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนกันยายน ส่วนยอดค้าปลีกของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือนสิงหาคม ซึ่งบ่งชี้ถึงแนวโน้มการขยายตัวของดีมานต์ ในขณะที่ดัชนียอดขายปลีกในยูโรโซนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และ EU เพิ่มขึ้น 2.5 ในเดือนสิงหาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.60   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.15 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐและเงินเยนอยู่ที่ 109.16 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.38 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5.   ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือน   พฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 90.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเข้ามาช้อนซื้อเก็งกำไรหลังจากสัญญาน้ำมันดิบร่วงลงอย่าง หนักแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน เมษายน 2556 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว  นอกจากนี้การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ยังเป็นอีกปัจจัยที่ช่วยหนุนราคาน้ำมัน ดิบ
 
6.   การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM    ส่งมอบเดือน พฤศจิกายน 2557 เปิดตลาดที่ 175.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น4.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือน มีนาคม 2558 เปิดตลาดที่ 180.00   เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.6 เยนต่อกิโลกรัม อ่อนค่า 0.15 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 152.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม (3 ตุลาคม 2557) เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยว่า รัฐบาลจะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญในประเด็นด้านเศรษฐกิจใน ช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน   ก่อนที่จะลงมติปรับเพิ่มภาษีบริโภคของญี่ปุ่นเป็น ร้อยละ 10.0 ในเดือนตุลาคม   2558 ตามกำหนดเดิม
- สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศมูดีส์ อินเวสเตอร์สเซอร์วิส เปิดเผยว่า การที่จีนผ่อนคลายเงื่อนไขในการปล่อยกู้จำนอง จะส่งผลดีต่อบรรดาผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ภาคที่อยู่อาศัยจะยังคงมีแนวโน้มในเชิงลบ
- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรปรับตัวเพิ่มขึ้น   248,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ระดับร้อยละ 5.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี และตัวเลขจ้างงานเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดนับตั้งแต่ เดือนมิถุนายน   และมากกว่าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 215,000 ตำแหน่ง
 
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ   และผลผลิตยางมีน้อยมาก เพราะในพื้นที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้ผู้ประกอบการหลายรายเริ่มขาดแคลน ยางและเร่งซื้อเพื่อเก็บสต๊อค ขณะที่ผู้ซื้อยังคงเสนอซื้อในราคาต่ำ ซึ่งไม่มีผู้ขาย
 
 


3
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับได้รับแรงหนุนจากเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือน และผลผลิตยางออกสู่ตลาดค่อนข้างน้อย จากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยมีฝนตกชุกต่อเนื่อง รวมทั้งกระแสข่าวประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จะมีการประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาราคายางในสัปดาห์ หน้า  อย่างไรก็ตามราคายางยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจหลายประเทศยังคงชะลอตัว


 ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2014, 12:10:10 PM โดย Rakayang.Com »