ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายางตลาดกลางหาดใหญ่ วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557  (อ่าน 1099 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  9  ตุลาคม  พ.ศ. 2557
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้ากับมีฝนตกบางแห่ง ส่วนร่องมรสุมยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนบนและอ่าวไทย ทำให้ภาคตะวันออกและภาคใต้มีฝนกระจายเกือบทั่วไป ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา   และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาพันธ์ยางอินโดนีเซียรายงานว่า สมาพันธ์ได้ออกหนังสือเวียนชี้แจงไปยังสมาชิกทั้งหมดไม่ให้จำหน่ายยาง หากราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 150 เซนต์สหรัฐ ทั้งนี้หนังสือดังกล่าวได้ถูกส่งไปยังสมาชิกบริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่าง ประเทศ (IRCo) รวมทั้งสิงคโปร์และเวียดนาม ส่วนไทยได้ออกหนังสือเวียนเช่นเดียวกันชี้แจงไปยังผู้ผลิตและส่งออกยางราย ใหญ่แล้ว   และทางสมาพันธ์ฯ ยังได้เตรียมพร้อมชะลอการจำหน่ายยางในช่วงไตรมาส 4 รวมถึงการปฏิเสธจะจำหน่ายที่ราคาต่ำกว่ากิโลกรัมละ 200 เซนต์สหรัฐ ขณะที่ได้คาดการณ์ผลผลิตยางของอินโดนีเซียในปีนี้ว่าสามารถผลิตได้ถึง 3.1 ล้านตัน มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 100,000 ตัน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ผลสำรวจของธนาคารกลางฝรั่งเศสระบุว่า   ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยับขึ้นร้อยละ   0.2 จากไตรมาส 2 หลังจากที่ช่วง 2 ไตรมาสแรกฝรั่งเศสเผชิญภาวะเติบโตหยุดชะงัก
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมญี่ปุ่นมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ที่   2.781 แสนล้านเยน เนื่องจากรายได้ที่แข็งแกร่งจากการลงทุนในต่างประเทศได้ชดเชยการขาดดุลการ ค้า   โดยกระทรวงระบุว่ายอดส่งออกในเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
- HSBC   โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนเดือนกันยายนลดลงแตะ 53.5 จุด จาก 54.1 จุดในเดือนสิงหาคม
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) คาดว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ในปี 2557 และได้ปรับลดคาดการณ์ปี 2558 ลงสู่ร้อยละ 2.3 จากร้อยละ 2.4 โดยได้ปรับลดคาดการณ์ดังนี้
 
  • ญี่ปุ่น โดนปรับลดคาดการณ์มากที่สุด โดย IMF. คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปีนี้ ซึ่งลดลงถึงร้อยละ   0.7 จากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนกรกฎาคม เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่ลดลง อันเป็นผลพวงที่ยืดเยื้อมาจากการขึ้นภาษีการขายในเดือนเมษายน และได้ลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้าลงเป็นขยายตัวร้อยละ 0.8 จากร้อยละ 1.0
  • สหรัฐฯ ได้รับการปรับเพิ่มคาดการณ์การขยายตัวปีนี้อีกร้อยละ   0.5 เป็นร้อยละ 2.2 หลังจากข้อมูลต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างยั่งยืน
  • ยูโรโซน โดนปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลงมาร้อยละ 0.3   อยู่ที่ร้อยละ 0.8 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและอุปสงค์ที่หดตัว
  • จีน คงคาดการณ์การขยายตัวไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 7.4 ในปี   2557 และร้อยละ 7.1 ในปี 2558
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมประจำวันที่ 16 - 17 กันยายน 2557 ระบุว่า สัญญาณชี้นำล่วงหน้าของอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะขึ้นอยู่กับข้อมูลเศรษฐกิจใน ปัจจุบัน และยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นหลังจาก โครงการซื้อพันธบัตรสิ้นสุดลง
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 32.49 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.16   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 108.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.08 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 87.31 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศการพลังงานสหรัฐฯ (EIA.) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของอุปสงค์พลังงานภายในประเทศ ส่วนสัญญาน้ำมันเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.73   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 91.38 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ   ในรอบสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 ตุลาคม 2557 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ โดยสต๊อคน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น   5 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.9 ล้านบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2557 อยู่ที่ 175.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2558 อยู่ที่ 181.4 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 0.3 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 155.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 0.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ศูนย์วิจัยทองคำเปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทองคำประจำเดือนตุลาคมอยู่ที่ 38.67 จุด ลดลง 3.94 จุดจากเดือนกันยายน จากความกังวลเรื่องธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัว ส่งผลให้เงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าสูงสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก จึงลดความน่าสนใจในการถือครองทองคำ ด้านผู้ค้ารายใหญ่เชื่อทองคำเดือนตุลาคมมีแนวโน้มย่อตัวต่อ
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางคาดว่าจะทรงตัว   แต่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นได้มากกว่า เพราะผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อ และพยายามผลักดันราคายางให้ดีขึ้น   ขณะที่ผลผลิตยางยังคงออกสู่ตลาดน้อย
 
   แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ตามตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เพราะภาคใต้ยังมีฝนตกชุกเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง และนักลงทุนขานรับรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ส่งสัญญาณว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้นี้ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF.) ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท


 ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา