ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558  (อ่าน 942 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88287
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง

วันอังคารที่  3  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558



ปัจจัย


วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลงอีก 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนและมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง


2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ค้ายานยนต์ญี่ปุ่น (JADA) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่เดือนมกราคมลดลงร้อยละ 19.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สู่ 401,366 คัน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 2 เดือน และปรับตัวลงรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 3 ปี จากการปรับขึ้นภาษีบริโภคในเดือนเมษายน 2557 ได้ส่งผลกระทบต่ออุปสงค์


3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเดือนธันวาคมลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนพฤศจิกายน โดยราคาน้ำมันและยอดจำหน่ายรถยนต์ที่ลดลงเป็นสาเหตุทำให้การใช้จ่ายปรับตัวลดลง


- ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ ประจำเดือนมกราคมอยู่ที่ 53.9 ทรงตัวจากเดือนธันวาคม แต่ถูกกดดันจากดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่า ซึ่งกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก ขณะที่ราคาน้ำมันที่ดิ่งลงทำให้อุปสงค์ในการลงทุนภาคพลังงานลดต่ำลง


- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) พบว่า ภาคการผลิตของสหรัฐฯ มีการขยายตัวลดลงในเดือนมกราคม ทั้งนี้ดัชนีภาคการผลิตของ ISM อยู่ที่ร้อยละ 53.5 ลดลงจากร้อยละ 55.1 ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนมกราคมปีที่แล้ว หรือในรอบ 1 ปี


- HSBC โฮลดิ้งส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนเดือนมกราคมขยับขึ้นเล็กน้อย แตะ 49.7 จาก 49.6 ในเดือนธันวาคม แต่ลดลงเมื่อเทียบกับการประเมินเบื้องต้นที่ 49.8


- กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจรัสเซียได้ทบทวนการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศประจำปี 2558 ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะหดตัวลงร้อยละ 3.0 หลังจากที่ราคาน้ำมันลดลงมาแตะที่ 50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ โค คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2558 เพราะได้รับแรงหนุนจากความแข็งแกร่งของการอุปโภคบริโภคและภาคบริการ


- ผลสำรวจดัชนีทางเศรษฐกิจเดือนมกราคมระบุว่า


ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของอิตาลีเพิ่มขึ้นแตะ 49.9 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 เดือน จาก 48.4 ในเดือนธันวาคม
ภาคการผลิตของฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 49.2 ซึ่งเป็นสถิติสูงสุดในรอบ 8 เดือน จาก 47.5 ในเดือนธันวาคม
ภาคการผลิตของเยอรมันลดลงแตะ 50.9 จาก 51.2 ในเดือนธันวาคม
ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของยูโรโซนขยายตัวมาอยู่ที่ 51.0 เป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน
ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของกรีซลดลงอยู่ที่ 48.3 ลดลงต่ำสุดในรอบ 15 เดือน จาก 49.4 ในเดือนธันวาคม
4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 32.52 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.14 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ


- เงินเยนอยู่ที่ 117.23 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดตลาดที่ 49.57 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.33 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการคาดการณ์ว่าการผลิตน้ำมันในสหรัฐฯ จะปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากข่าวการประท้วงของสหภาพแรงงานน้ำมันสหรัฐฯ


- ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอน ส่งมอบเดือนมีนาคม ปิดที่ 54.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.67 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


- คนงานของสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานเคมีภัณฑ์ 9 แห่งในสหรัฐฯ ทำการผละงานประท้วงเป็นวันที่ 2 เพื่อต้องการทำสัญญาฉบับใหม่ทั่วประเทศกับบรรดาบริษัทน้ำมันซึ่งจะครอบคลุมถึงพนักงานในโรงงานน้ำมันถึง 63 แห่ง โดยการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานและฝ่ายบริหารบริษัทน้ำมันยังไม่มีความคืบหน้า ท่ามกลางราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงถึงเกือบร้อยละ 60 นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนปีที่แล้ว


6. การเก็งกำไร


- ราคาตลาด TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคม อยู่ที่ 205.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 5.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 205.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.1 เยนต่อกิโลกรัม


- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 172.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว


- นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของกรีซกล่าวว่า รัฐบาลจะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเจรจากับเจ้าหนี้ในยุโรป และจะไม่ขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย พร้อมปฏิเสธความเป็นไปได้ที่กรีซจะออกจากยูโรโซน


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่าการใช้จ่ายด้านก่อสร้างเดือนธันวาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.4 โดยมูลค่าการก่อสร้างในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 สู่ระดับ 9.61 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ


8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศที่เริ่มดีขึ้น ขณะที่ผลผลิตยางในประเทศเริ่มลดลง ผู้ประกอบการบางรายยังต้องซื้อเพื่อส่งมอบ อย่างไรก็ตาม ยังคงขายออกยาก และล่าสุดมีข่าวว่าผู้ซื้อเลื่อนกำหนดรับสินค้าออกไป ชี้ให้เห็นว่าราคายางยังมีความเสี่ยง จึงไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ต้องรอดูหลังจากนี้อีกประมาณ 1 เดือน ซึ่งผลผลิตจะลดลงอย่างชัดเจน


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว เพราะได้รับแรงหนุนจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ช่วยสกัดปัจจัยลบจากข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และยุโรป ประกอบกับความกังวลว่าอุปทานยางจะค่อย ๆ ลดลง เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ขณะเดียวกันต้องติดตามการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้เกี่ยวกับการขออนุมัติเงินโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง เพื่อนำไปรับซื้อน้ำยางสดของเกษตรกรรายย่อยในราคาชี้นำตลาด






ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 03, 2015, 12:09:36 PM โดย Rakayang.Com »