ผู้เขียน หัวข้อ: อ.ส.ย.โชว์แผนซื้อยางรอบใหม่  (อ่าน 917 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82928
    • ดูรายละเอียด
อ.ส.ย.โชว์แผนซื้อยางรอบใหม่
« เมื่อ: มีนาคม 17, 2015, 09:53:04 AM »
อ.ส.ย.โชว์แผนซื้อยางรอบใหม่



อ.ส.ย.โชว์แผนใช้เงิน 2 พันล้านซื้อน้ำยางสด-ยางก้อนถ้วยรอบ 2 ในฤดูการกรีดใหม่ คุมเข้มต้องได้ตามสเปกไม่งั้นถูกหักราคาถึงขั้นไม่รับซื้อ ด้านนายกฯน้ำยางข้นยันไม่กระทบธุรกิจ  ระบุเงินจิ๊บๆ อุ้มชาวสวนได้น้อยมาก แนะรัฐขายยางสต๊อกใหม่ให้ผู้ส่งออกต่ำกว่าราคาตลาด 1-2 บาท/กก. อ้างดีกว่าสต๊อกจนเสื่อมทำเสียราคา บิ๊กวงการชี้รัฐหยุดซื้อยาง ช่วงปิดกรีด ราคาทั้งใน-นอก ยังร่วงดิ่ง


แหล่งข่าวจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.)  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"  ถึงวิธีการปฏิบัติ การซื้อ การขาย และการบริหารจัดการโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง ในรอบ 2 (เริ่มเปิดกรีดยางเดือนพฤษภาคม)ที่ได้เพิ่มการรับซื้อยางอีก 2 ชนิด ได้แก่ น้ำยางสด และยางก้อนถ้วย ใช้เงินกู้ 2 พันล้านบาท จากวงสินเชื่อ 6 พันล้านบาทที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้อนุมัติแล้วว่า ทางองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) ได้กำหนดเงื่อนไขการรับซื้อวัตถุดิบ น้ำยางสด จากเกษตรกรไว้ดังนี้  1. น้ำยางนั้นจะต้องเก็บรักษาด้วยสารเคมีที่โรงงานของ อ.ส.ย.หรือโรงงานที่เข้าร่วมโครงการจัดเตรียมในอัตราที่โรงงานกำหนดอย่าง เคร่งครัด
2.ต้องเป็นน้ำยางสดวันต่อวัน 3.ผู้ขายต้องนำน้ำยางสด มาส่งขายที่โรงงานผลิตน้ำยางข้นของ อ.ส.ย.หรือโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ 4. อ.ส.ย. ตรวจสอบคุณภาพน้ำยางสด ตามมาตรฐาน ของ อ.ส.ย.อย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอนทั้งการตรวจหาปริมาณเนื้อยางแห้งประจำวัน ที่จะนำไปคำนวณน้ำหนักแห้งและคิดราคาเพื่อจ่ายเงิน
ทั้งนี้ค่าเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้ หากกรณีเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้งในน้ำยางมีต่ำกว่าที่กำหนด ให้ลดราคาจากราคาประกาศรับซื้อน้ำยางสดประจำวันนั้นๆ ดังนี้ ได้แก่ หากเปอร์เซ็นต์มากกว่า 24% ไม่เกิน 25% ลดราคารับซื้อลงกิโลกรัมละ 2 บาท หรือ เปอร์เซ็นต์มากกว่า 23% ไม่เกิน 24% ลดราคารับซื้อลงกิโลกรัมละ 3 บาท เปอร์เซ็นต์มากกว่า 22% ไม่เกิน 23% ลดราคาซื้อลงกิโลกรัมละ 4 บาท และหากเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่า 22% ผู้ซื้อจะไม่รับซื้อน้ำยางสดดังกล่าว
ส่วนคุณสมบัติของน้ำยางสดที่ผู้ขายจะนำส่งไปให้ผู้ซื้อ ณ ฝ่ายโรงงาน ของ อ.ส.ย. และโรงงานที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่  ค่าความสกปรก (V.F.A.) ของน้ำยางสดโดยการทดลองของผู้ซื้อต้องไม่เกิน 0.04 หากค่าความสกปรกมากกว่า 0.04-0.05 ลดราคารับซื้อลงกิโลกรัมละ 1 บาท แต่ถ้าค่าความสกปรกมากกว่า 0.05-0.06 ลดราคารับซื้อกิโลกรัมละ 5 บาท แต่ถ้าค่าความสกปรกมากกว่า 0.06-0.07 ลดราคารับซื้อกิโลกรัมละ 25 บาท ของราคาประกาศวันนั้นๆ หรืออาจจะไม่รับซื้อน้ำยางนั้นก็ได้ และค่าความสกปรกมากกว่า 0.07 ขึ้นไปไม่รับซื้อน้ำยางสดดังกล่าว
"อ.ส.ย. จะเปิดจุดรับซื้อน้ำยางสด ณ หน้าโรงงานแปรรูปน้ำยางข้นในพื้นที่ ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และกระบี่  จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นน้ำยางข้น 60% โดยการจ้างโรงงานแปรรูปของ อ.ส.ย.และว่าจ้างโรงงานแปรรูปน้ำยางสดเอกชน เก็บสต๊อกในถัง 200 ลิตร แท็งก์น้ำยางสด และบ่อพักน้ำยางสด เก็บสต๊อกไม่เกิน 15 วัน หลังจากนั้นจะจัดจำหน่ายน้ำยางข้น 60% ออกสู่ตลาดทุกๆ 15 วัน  ส่วนการรับซื้อยางก้อนถ้วย จะผ่านกลไกของการบริหารจัดการโรงงานยางแท่ง STR 20 ของ อ.ส.ย. จำนวน 3 โรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุดรธานี ศรีสะเกษ และนครพนม จะนำยางก้อนถ้วยที่รับซื้อเข้าโรงบ่มอย่างน้อย 15 วัน ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปยางแท่ง STR 20 หลังจากนั้นจะนำยางแท่ง STR 20 เข้าเสนอขายผ่านกลไกตลาดประมูลของตลาดกลางยางพารา จังหวัดสงขลา ภายใต้การดำเนินงานโครงสร้างมูลภัณฑ์กันชนฯ"
ด้านนายอภิชาติ พันธุ์พิพัฒน์ นายกสมาคมน้ำยางข้นไทย  กล่าวว่า จากการประเมินของสมาคมโครงการรัฐบาลที่จะมารับซื้อน้ำยางสดและน้ำยางก้อน ถ้วยนั้นจะไม่กระทบกับผู้ประกอบการเนื่องจากเงินที่จะใช้แทรกแซงมีน้อยมาก เพียงแค่ 2 พันล้านบาท ซัพพลายในตลาดยังมีอีกจำนวนมาก อย่างไรก็ดีเสนอให้รัฐบาลยอมขายขาดทุนยางในสต๊อกที่ซื้อเข้ามาเก็บใหม่ โดยขายให้ผู้ส่งออกในราคาต่ำกว่าตลาด 1-2 บาท/กิโลกรัม ดีกว่าเก็บไว้ เพราะยิ่งเก็บนานยางยิ่งเสื่อม และราคาตก
สอดคล้องกับนายวรเทพ ประธานและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) กล่าวว่า จากที่ซัพพลายยางในตลาดมีมากกว่าที่ อ.ส.ย.รับซื้อ มองว่าโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชน ซื้อยางราคานำตลาดเป็นแค่เชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ไม่ได้ช่วยดันราคายางให้ขยับขึ้นมาก เห็นได้จากตั้งแต่วันที่  9 มีนาคมที่ผ่านมา โครงการได้หยุดประมูลซื้อยางในตลาดกลาง แทนที่ราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นแต่ปรากฏว่าราคายางทั้งในประเทศ  ตลาดโตคอม และไซคอม ยังปรับตัวลงทิศทางเดียวกัน


ที่มา หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (วันที่ 15 - 18  มีนาคม  พ.ศ. 2558)