ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 833 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82443
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  2  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ประเทศไทยตอนบนมีฝนกระจายและตกหนักบางแห่ง   ร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนกระจายร้อยละ 40 ของพื้นที่   เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- บริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ รายงานยอดจำหน่ายเดือนสิงหาคมดีกว่าที่คาดไว้ บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดรถยนต์สหรัฐฯ ทั้งนี้บริษัทฟอร์ด มอเตอร์ มียอดจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ   5.4 ขณะที่เฟียต ไคร์สเลอร์ มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ส่วนเจเนอรัล มอเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ มียอดจำหน่ายลดลงร้อยละ 0.7 แต่ยังดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านทุนภาคธุรกิจช่วงเมษายน   - มิถุนายน ขยายตัวร้อยละ 5.6 สู่ระดับ 9.04 ล้านล้านเยน เมื่อเทียบเป็นรายปี
- สมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมยอดจำหน่ายรถบรรทุก   รถบัส และรถยนต์โดยสาร ยกเว้นรถยนต์รุ่นเล็ก 660 ซีซี เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 211,303 คัน ขณะที่สมาคมยานยนต์น้ำหนักเบาและรถจักรยานยนต์รายงานว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์รุ่นเล็ก 660 ซีซี ลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 115,746 คัน
- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ   (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจภาคการผลิตเดือนสิงหาคมชะลอตัวลง โดยผลการสำรวจพบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตอยู่ที่ 51.1 ลดลงจาก 52.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งได้รับผลกระทบจากเงินดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่า และเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา
- ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ให้ระวังผลกระทบจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ภาวะการเงินโลกที่ตึงตัวขึ้น และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ
- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ รายงานผลสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ   (PMI) เดือนสิงหาคม   ดังนี้
 
  • ภาคการผลิตทั่วโลกปรับตัวลดลงสู่ระดับ   50.7 จาก 51.0 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนกันยายน 2556
  • ภาคการผลิตสหรัฐฯ   ลดลงลงสู่ 53.0 จาก 53.8 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 22 เดือน
  • ภาค การผลิตของจีนลดลงแตะ   47.3 จาก 47.8 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกันที่ดัชนีปรับตัวต่ำกว่าระดับ 50.0 แต่ขยับขึ้นเล็กน้อยจากข้อมูลเบื้องต้นที่ 47.1
  • ภาคบริการของจีนปรับตัวลดลงสู่   51.5 จาก 53.8 ในเดือนกรกฎาคม
  • ภาคการผลิตของอิตาลีปรับตัวลดลงแตะ   53.8 จาก 55.3 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือนเมษายน
  • ภาคการผลิตของฝรั่งเศสปรับตัวลดลงแตะ   48.3 จาก 49.6 ในเดือนกรกฎาคม นับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือน
  • ภาคการผลิตของเยอรมันเพิ่มขึ้นสู่ระดับ   53.3 จาก 51.8 ในเดือนกรกฎาคม
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 35.77 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.01   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.18 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น   0.52 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคมปิดตลาดที่ 45.41 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 3.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการดิ่งลงของตลาดหุ้นทั่วโลก ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและตัดสินใจเทขายสัญญาน้ำมันดิบเช่นกัน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดที่ 49.56ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 4.59 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 163.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง   3.9 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 170.3 เยนต่อกิโลกรัม   ลดลง 4.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM   เปิดตลาดที่ 132.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7   เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน   กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอจะเพิ่มความไม่แน่นอนต่อมุมมองเกี่ยวกับการคาด การณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้เฟดมีท่าทีระมัดระวังต่อการเริ่มปรับนโยบายการเงินกลับสู่ภาวะ ปกติ   และบ่งชี้ว่าเฟดมีแนวโน้มชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกรกฎาคมการใช้จ่ายด้านการก่อสร้างปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 7 ปี   และปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 สู่ระดับ 1.08   ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงสู่ร้อยละ 10.9 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปี หลังจากแตะระดับร้อยละ 11.1 ในเดือนมิถุนายน เป็นการสะท้อนว่าเศรษฐกิจยูโรโซนยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางยังคงปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่าจะขายก็ไม่มีคนซื้อ แต่ในประเทศยังซื้อเกินราคา และปริมาณผลผลิตก็มีน้อย เพราะส่วนมากขายน้ำยางสด ประกอบกับแรงงานกรีดยางในระยะนี้หายาก บางพื้นที่ต้องหยุดกรีดเพราะขาดแรงงาน
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุน
 วิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯ หลังจากมีรายงานว่าภาคการผลิตทั้ง 2 ประเทศชะลอตัวลง รวมทั้งสต๊อคยางตลาดเซี่ยงไฮ้ของจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2558 อยู่ที่ 191,236 ตัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในปีนี้?



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา