ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 809 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82413
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  9  กันยายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ร่องมรสุมและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่งผลต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานศุลกากรจีนระบุว่า การส่งออกรถยนต์และโครงรถยนต์ช่วง 8 เดือนแรกของปี 2558 มีจำนวน 510,000 คัน   ลดลงร้อยละ 14.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขณะที่การส่งออกรถยนต์และโครงรถยนต์เดือนสิงหาคมอยู่ที่ 60,000 คัน ด้านการนำเข้ารถยนต์และโครงรถยนต์ช่วง 8 เดือนแรกของปีอยู่ที่ 710,000 คัน ลดลงร้อยละ 25.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี สำหรับการนำเข้าเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ   20.0 จากเดือนก่อน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- ธนาคารกลางฝรั่งเศส (BdF) ระบุว่า   เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะขยายตัวร้อยละ 0.3 ไตรมาส 3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากคาดการณ์ก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 1.2 ในปีนี้ และร้อยละ 1.8 ในปีหน้า
- สหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้น 0.5 จุด สู่ระดับ 95.9   จุด บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังคงขยายตัวในไตรมาส 3
- สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความอ่อนไหวต่อภาวะ เศรษฐกิจในญี่ปุ่นเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงสู่ระดับ   49.3 จุด นับเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนที่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50.0 จุด
- สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า การค้าต่างประเทศเดือนสิงหาคมปรับตัวลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ระดับ 2.04 ล้านล้านหยวน เป็นการปรับตัวลงรุนแรงมากขึ้นหลังจากที่หดตัวร้อยละ   8.8 ในเดือนกรกฎาคม โดยการส่งออกเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 6.1   หลังจากที่ลดลงร้อยละ 8.9 ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 14.3   หลังจากลดลงร้อยละ 8.6 ในเดือนกรกฎาคม
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโร โซนช่วงครึ่งปีแรก   โดยปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 สำหรับไตรมาส 1 และไตรมาส 2 สู่ร้อยละ 0.5 และร้อยละ   0.4 ตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาสแรกมีการขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2554 และเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์ในกรีซได้
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันรายงานตัวเลขเกินดุลการค้าเดือนกรกฎาคมเพิ่ม ขึ้นแตะ   2.5 หมื่นล้านยูโร นับเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยการส่งออกพุ่งขึ้นร้อยละ   2.4 และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 35.97 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.22 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.23 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนตุลาคมปิดตลาดที่ 45.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.11 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับปริมาณน้ำมันในตลาดโลก ตลอดจนภาวะเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว หลังจากมีการเปิดเผยข้อมูลการค้าที่ย่ำแย่
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนตุลาคม ปิดที่ 49.52ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.89   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 166.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 7.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกุมภาพันธ์ 2559 อยู่ที่ 174.7 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 7.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM   เปิดตลาดที่ 130.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- บริษัทวิจัยความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนสิงหาคมจำนวนบริษัทล้มละลายปรับตัวลดลงร้อยละ 13.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี   แตะที่ 632 บริษัท นับเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 25 ปี   ผลจากสภาพเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นในระดับปานกลาง
- หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์โกลด์แมน แซคส์ กล่าวว่า เขาคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม สอดคล้องกับการคาดการณ์ของเขาเมื่อเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมี 3 เหตุผลที่จะสนับสนุนให้เฟดไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ   ยังไม่ดีพอ ตลาดการเงินอยู่ในภาวะปั่นป่วน และความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก   โดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน
 
8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามตลาดต่างประเทศ และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังมีอยู่ เพราะปริมาณผลผลิตยังคงเพิ่มขึ้นน้อยจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการกรีดยาง
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับนักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในบาง ส่วน หลังจากสหภาพยุโรปปรับเพิ่มตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซนในช่วง ครึ่งปีแรก รวมทั้งการฟื้นตัวของตลาดหุ้นทั่วโลก ขณะที่ตลาดมีมุมมองด้านบวกว่าจีนจะใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น หลังจากเปิดเผยข้อมูลการค้าที่ซบเซา


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา