ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 892 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  1  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย[/t][/t] [/t]

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
 
- ภาคกลางและภาคตะวันออกยังมีฝนตกหนาแน่นและตกหนักบางแห่ง   ร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่ ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
 
2. การใช้ยาง
 
- สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์อินโดนีเซียเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์อินโดนีเซียเดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงเป็นเดือนที่   12 ติดต่อกัน
 
3. เศรษฐกิจโลก
 
- สำนักงานปริวรรตเงินตราแห่งรัฐของจีนเปิดเผยว่า จีนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 1.486 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีแรก   เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เดือนกันยายนราคาผู้บริโภคในกลุ่มยูโรโซน ปรับตัวลงสู่ร้อยละ -0.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่อัตราเงินเฟ้อลดลงติดลบจากร้อยละ   0.1 ในเดือนสิงหาคม
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตรงข้ามกับที่คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 อย่างไรก็ตาม หากเทียบเป็นรายปีพบว่ายอดค้าปลีกเดือนสิงหาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ออกรายงานเตือนว่ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่มีความอ่อนไหวมากขึ้นต่อการปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกพากันหลีกเลี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น เนื่องจากหนี้สินภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้น
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI)   ภาคการผลิตเขตชิคาโกหดตัวเกินคาด สู่ระดับ 48.7 จุดในเดือนกันยายน จาก 54.4   จุดในเดือนสิงหาคม ถูกกระทบจากการลดลงของการผลิตและคำสั่งซื้อใหม่ อย่างไรก็ดี การจ้างงานเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน   และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนกันยายนปรับตัวขึ้นแตะ 49.8 จุด จาก 49.7 จุดในเดือนสิงหาคม แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมภาคการผลิตของจีนกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยในเดือนก่อน แต่ยังอยู่ในภาวะหดตัว
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ในญี่ปุ่น (ทังกัน) ประจำไตรมาส 3 ว่า   ดัชนีความเชื่อมั่นย่ำแย่ลงมาอยู่ที่ +12.0 จากระดับ +15.0 ในไตรมาส 2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นกลุ่มบริษัทนอกภาคการผลิตปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ +25.0 จาก +23.0
- องค์การการค้าโลก (WTO)   ปรับลดคาดการณ์การค้าสินค้าในระดับโลก หลังจากที่ขยายตัวรายไตรมาสอยู่ที่ภาวะติดลบ โดยการค้าได้หดตัวลงเฉลี่ยร้อยละ   0.7 ในไตรมาส 1 และ 2 ทั้งนี้ WTO คาดว่าการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ   2.8 และร้อยละ 3.9 ในปี 2558 และ 2559 ตามลำดับ โดยลดลงจากร้อยละ 3.3 และร้อยละ   3.4 ที่คาดการณ์ในเดือนเมษายน พร้อมระบุว่าเศรษฐกิจโลกเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศกำลังพัฒนา่อมั่นทางธุรกิจของกลุ่มประเทศ ผลิตของจีนกระเตื้องขึ้นเล็กราดอกเบี้ย ขณะที่นักลงทุนทั่วโลกพากันหลีกเลี่ยงการ
 
4. อัตราแลกเปลี่ยน
 
- เงินบาทอยู่ที่ 36.35 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03   บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 120.06 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง   0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
 
5. ราคาน้ำมัน
 
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 45.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยสต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากเกินคาดในสัปดาห์ก่อน
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์   (Brent)   ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 48.37ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.14   ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้น   4 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 457.92 ล้านบาร์เรล เป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรล
 
6. การเก็งกำไร
 
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 159.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 4.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 170.1 เยนต่อกิโลกรัม   เพิ่มขึ้น 5.0 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM   เปิดตลาดที่ 131.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
 
7. ข่าว
 
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า   อัตราว่างงานยูโรโซนเดือนสิงหาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.0 ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนกรกฎาคม
- ผลสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่า ภาคเอกชนของสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนกันยายน สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์
- สภาผู้แทนสหรัฐฯ มีมติผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว ก่อนส่งต่อให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา   ลงนามบังคับใช้เป็นกฎหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานของรัฐบาลในวันที่ 1   ตุลาคม 2558 เนื่องจากขาดงบประมาณในขณะขึ้นปีงบประมาณใหม่
 
8.   ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ
 
- ราคายางปรับตัวสูงขึ้น   เพราะได้รับแรงหนุนจากเงินบาทอ่อนค่า ผลผลิตมีน้อยจากภาวะฝนตกทางภาคใต้ และผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อเพื่อเก็บสต๊อค เนื่องจากภาคใต้จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นใน 1 - 2 เดือนนี้
 
   ?แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการอ่อนค่าของเงินเยน และนักลงทุนขานรับข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐฯ ประกอบกับนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นหลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวดี ขึ้น โดยเฉพาะหุ้นบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ของจีนที่ได้รับอานิสงค์จากการปรับลดภาษี ซื้อยานพาหนะ อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนและการชะลอซื้อ ยางของจีนในช่วงหยุดยาววันชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 - 7 ตุลาคม 2558


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา