ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 982 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  19  ตุลาคม  พ.ศ. 2558

ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีเมฆมากกับมีฝนกระจายร้อยละ 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนบางแห่งร้อยละ 10-30 ของพื้นที่

2.การใช้ยาง


- ยอดขายรถยนต์ของจีนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำได้ฟื้นตัวขึ้นทั่วประเทศในช่วงวันหยุด เนื่องในวันชาติจีนที่ผ่านมา หลังจากคณะรัฐมนตรีจีนประกาศว่ารถยนต์ที่มีขนาด 1.6 ลิตรหรือต่ำกว่า จะได้รับการลดหย่อนภาษี 50% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีนี้ ? 31 ธันวาคม ปีหน้า

- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ เปิดเผยว่ายอดขายรถยนต์ของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบกับปีที่แล้วสู่ระดับ 1.75 ล้านคัน ส่วนยอดขายรวมทั้งรถยนต์นั่ง และรถยนต์เชิงพาณิชย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 สู่ระดับ 2 ล้านคัน

3.สต๊อกยาง


- สต๊อกยางจีน วันที่ 16 ตุลาคม 2558 มีจำนวน 217,271 ตัน เพิ่มขึ้น 5,316 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.51 จากระดับ 211,955 ตัน ณ วันที่ 9 ตุลาคม 2558

4.เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า ราคาผู้บริโภคในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร19 ประเทศ ปรับตัวลงสู่ระดับร้อยละ -0.1 เทียบรายปีในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่อัตราเงินเฟ้อลดลงติดลบ จากระดับร้อยละ 0.1 ในเดือนสิงหาคม

- กระทรวงการคลังของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลงบประมาณปี 2558 ของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 8 ปี ที่ 4.3889 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เนื่องจากรายได้ของรัฐบาลปรับตัวขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยรายงานระบุว่ายอดขาดดุลงบประมาณตลอดปีงบประมาณจนถึงวันที่ 30 กันยายน ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.2 จากปีก่อน และปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

- ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกน ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ เบื้องต้น ประจำเดือนตุลาคม เพิ่มขึ้นสู่ระดับ 92.1 จากระดับ 8.7 ในเดือนกันยายน ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้บริโภคเริ่มฟื้นตัวจากราคาผันผวนในตลาดการเงิน และภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่อ่อนแอ

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงร้อยละ 0.2 ในเดือนกันยายน เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ โดยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน (GDP) ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบรายปี ซึ่งปรับตัวต่ำกว่าร้อยละ 7.0 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี และลดลงจากร้อยละ 7.0 จากช่วงไตรมมาส 2 นับเป็นการตอกย้ำมากขึ้นว่าเศรษฐกิจของจีนกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.35 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 119.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.20 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดตลาดที่ 47.26 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.88 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากสัญญาณการปรับลดลงของปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้น 0.73 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 50.46 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

- เบเกอร์ ฮิวจ์อิงค์ รายงานว่า แท่นขุดเจาะน้ำมันของสหรัฐฯ ที่มีการใช้งานได้ลดลง 10 แท่น สู่ระดับ 595 แท่น ในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน

7. การเก็งกำไร


TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2558 อยู่ที่ 158.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 168.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.5 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 133.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- รัฐสภากรีซลงมติในการให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการรัดเข็มขัดฉบับใหม่ ซึ่งกรีซให้คำมั่นไว้กับบรรดาเจ้าหนี้เพื่อปลดล๊อคเบิกจ่ายเงินงวดรอบต่อไปในช่วงปลายสัปดาห์หน้า

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรที่เปิดรับสมัคร โดยสถานประกอบการในสหรัฐฯ ลดลงสู่ระดับ 5.4 ล้านตำแหน่ง จากระดับ 5.7 ล้านตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่เริ่มรวบรวมข้อมูลในปี 2009

9. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับตัวลดลงเล็กน้อย จากปัจจัยต่างประเทศ ซึ่งทำให้ตลาดซบเซา ขณะที่ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย และผู้ประกอบการหลายรายมีการขายฝากไว้จำนวนหนึ่ง จึงพยายามผลักดันไม่ให้ราคาลดลงจากในระยะนี้

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว  เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยาง หลังจากจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางรายใหญ่ของโลกรายงานว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 ขยายตัวเพียงร้อยละ 6.9 ซึ่งต่ำกว่าร้อยละ 7.0 เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 ปี   อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย จากสภาพอากาศทางภาคใต้ของไทยยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา