ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 931 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  20  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนตกในเกณฑ์กระจายและตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ปริมาณการผลิตยางธรรมชาติของอินโดนีเซียปี 2559 จะลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ และปัญหาหมอกควันไฟป่า ซึ่งปีนี้ปริมาณการผลิตยังไม่เปลี่ยนแปลง มีปริมาณ 3.2 ล้านตัน และคาดว่าอินโดนีเซียจะเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งจากปรากฏการณ์เอลนินโญ่ในระดับปานกลาง และอาจกระทบมากขึ้นตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนธันวาคมปีนี้

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงการคลังจีนเปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการคลังเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.9 แตะ 1.78 ล้านล้านหยวน เนื่องจากการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นการขยายตัวชะลอลงของเศรษฐกิจีน

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมุมมองเป็นบวกในการประเมินเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้ง 9 เขต โดยระบุว่าการบริโภคภายในประเทศและการใช้จ่ายด้านทุนมีความแข็งแกร่ง แม้เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว โดยรายงานระบุว่าเศรษฐกิจระดับภูมิภาคญี่ปุ่นยังมีการฟื้นตัวระดับปานกลางหรือกำลังฟื้นตัว

- ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสจะมีการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในปีนี้สูงขึ้นเล็กน้อยจากตัวเลขคาดการณ์ของรัฐบาลก่อนหน้านี้ร้อยละ 1.0

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า

    การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ (มกราคม - กันยายน) ขยายตัวร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี
    การลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 3 ไตรมาส (มกราคม - กันยายน) ขยายตัว
    ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยตัวเลขดังกล่าวชะลอตัวลงร้อยละ 0.9 จากช่วง 8 เดือนแรกของปี และลดลงร้อยละ 2.0 จากช่วงครึ่งปีแรก
    ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอตัวลงจากเดือนสิงหาคมที่ขยายตัวร้อยละ 6.1
    ยอดค้าปลีกเดือนกันยายนปรับขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี ขยับขึ้นเล็กน้อยจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 10.8 ในเดือนสิงหาคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.44 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 119.51 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.11 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 45.89 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.37 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังจากมีรายงานว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวช้าลงในไตรมาส 3 ปีนี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐ

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 48.61ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.85 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันอิหร่านกล่าวว่า เขาคาดาว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการผลิต เพราะขณะนี้ไม่ใช่เวลาที่จะดำเนินการดังกล่าว ถึงแม้ว่าสมาชิกโอเปคไม่พอใจต่อราคาน้ำมันที่ระดับ 50 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล และต้องการให้อยู่ในช่วง 70 - 80 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล แต่ไม่มีสมาชิกรายได้คาดว่าราคาน้ำมันจะกลับมาแตะ 100 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 155.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 167.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 130.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านพุ่งขึ้นในเดือนตุลาคม แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 เพราะได้รับแรงหนุนจากการจ้างงานเพิ่มขึ้น และอัตราเงินกู้จำนองอยู่ในระดับต่ำ โดยดัชนีที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 64.0 ในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี จากระดับ 61.0 ในเดือนสิงหาคมและกันยายน

- ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ระบุว่า อัตราว่างงานเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากช่วง 2 เดือนก่อน

8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ประกอบกับไม่มีปัจจัยใหม่ ๆ กระตุ้นตลาด อย่างไรก็ตาม ภาคใต้มีฝนตกชุก ผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุน
วิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังมีรายงานว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวช้าลงในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ยางอันดับหนึ่งของโลกกำลังอยู่ในภาวะชะลอตัว



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา