ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 851 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  21  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนตกในเกณฑ์กระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ อากาศเย็นมีหมอกบางในตอนเช้า และมีฝนบางแห่งร้อยละ 20 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- แหล่งข่าวภาคอุตสาหกรรมยานยนต์นำเข้าญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์โฟล์คสวาเกนในญี่ปุ่นเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็นผลมาจากภาพลักษณ์ที่มัวหมองในเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการโกงค่าการปล่อยมลพิษรถยนต์

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงการคลังจีนญี่ปุ่นเปิดเผยว่า เดือนกันยายนญี่ปุ่นขาดดุลการค้า 1.145 แสนล้านเยน (955.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) โดยรายงานระบุว่ายอดส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 11.1

- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า เดือนกันยายนการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (ODI) โดยบริษัทนอกภาคการเงินปรับตัวขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 1.03 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ ชะลอตัวลงจากอัตราการขยายตัวร้อยละ 7.0 ในเดือนสิงหาคม

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคการเงินไตรมาส 3 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะที่ 1.41 ล้านล้านหยวน สูงกว่าการเติบโตร้อยละ 6.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จีน

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนกันยายนปรับตัวลงร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และปรับตัวลงร้อยละ 2.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก เปิดเผยว่า เขามีมุมมองบวกเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ แม้มีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจต่างประเทศ และคาดว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะเกิดขึ้นในช่วงอนาคตอันใกล้นี้

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.36 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 119.93 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.42 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤศจิกายนปิดตลาดที่ 45.55 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.34 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยรายงานสต๊อคน้ำมันดิบในวันพรุ่งนี้ ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของนักวิเคราะห์คาดว่า
สต๊อคน้ำมันดิบจะปรับตัวสูงขึ้น

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 48.71ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 155.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 166.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 129.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า เดือนกันยายนตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 สู่ระดับ 1.21 ล้านยูนิต ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าอยู่ที่ระดับ 1.15 ล้านยูนิต

8. ข้อคิดเห็นของผู้ประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงได้อีก เพราะตลาดต่างประเทศซบเซา ขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ ขณะที่การซื้อขายส่วนมากจะทำสัญญาส่งมอบเดือนไกล เพราะราคาสูงกว่า เดือนใกล้มีผู้ขายน้อย ดังนั้นจากการที่ราคาในระยะนี้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้มีผู้ซื้อเก็บจำนวนมาก หรือส่งมอบตามสัญญาเดือนไกล

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่อ่อนแอ ส่งผลเชิงลบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในภาพรวม รวมถึงยางพารา อย่างไรก็ตาม ราคายางไม่เปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากสภาพอากาศทางภาคใต้ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และเงินบาทอยู่ในระดับอ่อนค่า


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา