ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558  (อ่าน 908 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  30  ตุลาคม  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนอยู่ในเกณฑ์กระจาย ร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีอุณหภูมิลดลง และมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- รายงานการศึกษาหัวข้อ ?อุตสาหกรรมเครื่องจักรผลิตยางของจีนและของโลก ระหว่างปี 2557 - 2560? ระบุว่า ตลาดเครื่องจักรผลิตยางในประเทศจีนคาดว่าในปี 2560 จะแตะระดับ 4,070 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยปี 2556 มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมเครื่องจักรผลิตยางในจีน สามารถสร้างรายได้ถึง 2,300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ร้อยละ 36.5 และคาดว่าความต้องการเครื่องจักรผลิตยางในจีนเติบโตขึ้นอีกในอนาคต

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เบื้องต้นสำหรับไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.6 และต่ำกว่าร้อยละ 3.9 ในไตรมาส 2

- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยูโรโซนเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในเดือนตุลาคม โดยได้รับแรงหนุนจากภาคก่อสร้างและค้าปลีก ทั้งนี้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 105.9 ในเดือนตุลาคม จาก 105.6 ในเดือนกันยายน ดีกว่าที่คาดว่าจะลดลงสู่ระดับ 105.2

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อเยอรมันอยู่สูงกว่าคาดเล็กน้อยในเดือนตุลาคม แต่ยังต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.0 ของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยระบุว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทรงตัวในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบเป็นรายเดือน แต่ขยับขึ้นร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPO) เดือนกันยายนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ส่วนหนึ่งมาจากการปรับลดลงของราคาน้ำมัน

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.61 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 120.99 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.27 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคมปิดตลาดที่ 46.06 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.12 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงขานรับรายงานที่ระบุว่า สต๊อคน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันขยับขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้นตลาด

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤศจิกายน ปิดที่ 48.80ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.25 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- ผลสำรวจธนาคาร 13 แห่งของหนังสือพิมพ์วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ระบุว่า ในปีหน้าราคาน้ำมันจะยังคงถูกกดดันอยู่ต่ำกว่าระดับ 60 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากความกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด โดยผลสำรวจคาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์อยู่ที่ระดับเฉลี่ย 58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมัน WTI มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 145.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 159.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 125.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์ก่อนเพิ่มขึ้น 1,000 ราย สู่ระดับ 260,000 ราย แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 265,000 ราย ตัวเลขดังกล่าวยังคงปรับตัวใกล้ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 40 ปี เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานมีความแข็งแกร่ง

- สำนักงานแรงงานรัฐบาลกลางเยอรมันรายงานว่า อัตราว่างงานเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 0.2 สู่ร้อยละ 6.0 ขณะเดียวกันจำนวนคนว่างงานลดลง 59,000 ราย สู่ระดับ 2.65 ล้านคน บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะปรับตัวลดลง เพราะไม่มีปัจจัยกระตุ้นตลาดและตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา การถามซื้อมีน้อยและในราคาต่ำ ทำให้ผู้ประกอบการขายออกยาก และประสบภาวะขาดทุน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3 สหรัฐฯ ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 1.6 และนักลงทุนวิตกกังวลหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศทางภาคใต้ที่มีฝนตกต่อเนื่อง ยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง


ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา