ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 895 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  3  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนกระจายถึงเกือบทั่วไป และตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักเกือบทั่วไป ร้อยละ 70 ของพื้นที่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย และมีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่

2.การใช้ยาง


- สมาคมยานยนต์ขนาดเล็กและจักรยานยนต์ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ในญี่ปุ่นปรับตัวลดลงร้อยละ 4.1 ในเดือนตุลาคม เมื่อเทียบกับปีก่อน แตะที่ 380,089 คัน  เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์ขนาดเล็ก หลังจากการปรับขึ้นภาษีการเป็นเจ้าของรถยนต์เมื่อต้นปีนี้ และเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 10 ติดต่อกัน

3.เศรษฐกิจโลก


- ผลสำรวจของมาร์กิต ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขาดการผลิตของยูโรโซน ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 52.3 ในเดือนตุลาคม ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 52.0 เมื่อเดือนกันยายน

- ธนาคารกลางจีนได้ปรับอัดฉีดเม็ดเงินมูลค่า 1.055 แสนล้านหยวน แก่สถาบันการเงิน 11 แห่งผ่านทางโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

- ผลสำรวจของมาร์กิต เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเยอรมนีในเดือนตุลาคม ลดลงแตะ 52.0 เมื่อเดือนกันยายน และสูงกว่าที่ได้มีการประเมินไว้เบื้องต้น

- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีน ซึ่งมาร์กิตจัดทำร่วมกันกับไฉซิน เพิ่มขึ้นแตะ 48.3 ในเดือนตุลาคม จาก 47.2 ในเดือนกันยายน

- นายกรัฐมนตรีจีน กล่าวว่า รัฐบาลคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างน้อยร้อยละ 6.5 ต่อปี จนถึงปี 2020 ซึ่งเศรษฐกิจจะมีการขยายตัวอย่างร้อยร้อยละ 6.5 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า

- มาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ภาคการผลิตของสหรัฐ ในเดือนตุลาคม ขยายตัวมากที่สุดในรอบ 6 เดือน และปรับตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ มาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับ 54.1 ในเดือนตุลาคม จากระดับ 54.0 ของตัวเลขเบื้องต้นและดีกว่าระดับ 53.1 ของเดือนกันยายน

- สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตของสหรัฐฯ มีการขยายตัวในเดือนตุลาคม เป็นเดือนที่ 34 ติดต่อกัน ขณะที่เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวเป็นเดือนที่ 77 ติดต่อกัน โดยผลสำรวจพบว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต อยู่ที่ระดับ 50.1 ในเดือนตุลาคม  อย่างไรก็ตาม ดัชนีภาคการผลิตเดือนตุลาคม อยู่ในระดับต่ำสุด นับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2556 และต่ำกว่า 50.2 ในเดือนกันยายน

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.56 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ  แข็งค่า 0.01 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 120.72 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ  อ่อนค่า 0.30 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 46.14 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.45 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ได้รับแรงกดดันจากตัวเลขภาคการผลิตของจีนที่ยังคงหดตัว  นอกจากนี้รายงานที่ระบุว่า การผลิตน้ำมันของรัสเซียสูงเป็นประวัติการณ์ และกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา

- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 0.77 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดที่ 48.79 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 หยุดทำการ เนื่องในวัน Culture Day

- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 123.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ  เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างปรับตัวขึ้น แตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง ในเดือนกันยายน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 สู่ระดับ 1.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2008

8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือปรับลดลงเล็กน้อย ตามปัจจัยลบจากต่างประเทศ ทำให้ขายออกยาก ผู้ถามซื้อมีน้อย และซื้อในราคาต่ำ ขณะที่ปริมาณผลผลิตค่อนข้างน้อย เพราะฝนตกในหลายพื้นที่

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีปัจจัยลบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง  ภาวะเศรษฐกิจจีนที่ยังชะลอตัวและสต๊อกยางจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในเดือนธันวาคม นี้ หลังจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแข็งแกร่ง  อย่างไรก็ตาม ภาวะฝนตกหนักทางภาคใต้ของไทย ทำให้อุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ยังเป็นปัจจัยหนุนต่อราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา