ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 883 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  4  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ และมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ส่วนภาคใต้มีฝนตกเกือบทั่วไป ร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- ยอดจำหน่ายรถยนต์ทั่วโลกของผู้ผลิตรถยนต์เกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

- บริษัทเฟียต ไครส์เลอร์ ออโตโมบิล เปิดเผยว่า บริษัทมียอดจำหน่ายรถยนต์ในสหรัฐฯ เดือนตุลาคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 อยู่ที่ 195,545 คัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2544 นอกจากนี้ยอดจำหน่ายทำสถิติเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 67 เดือน

3. เศรษฐกิจโลก


- ภาคธุรกิจของจีนต่างมีมุมมองบวกเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากนโยบายที่เอื้ออำนวย โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเดือนตุลาคมที่จัดทำโดย MNI เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 อยู่ที่ 55.6 จาก 51.3 ในเดือนกันยายน

- ประธานาธิบดีจีนเปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวรายปีของจีนไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพื่อจะบรรลุเป้าหมายในการเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และรายได้ประชากรให้เป็น 2 เท่าของปี 2553 ภายในปี 2563

- นักเศรษฐศาสตร์จีนชี้แนวโน้มเศรษฐกิจจีนยังคงสดใส แม้ว่าจะต้องเผชิญกับแรงกดดันช่วงขาลง เนื่องจากนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ รวมทั้งการปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยดัชนี CPI เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับร้อยละ 1.0 เป็นเวลา 11 เดือนติดต่อกัน

- สมาพันธ์อุตสาหกรรมเยอรมัน (BDI) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจเยอรมันจะขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปีนี้ แต่ยังคงจำเป็นต้องมีการลงทุนมากขึ้น ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวอยู่ในระดับสูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ในเดือนก่อนว่าเศรษฐกิจเยอรมันจะชะลอตัวลงสู่ร้อยละ 1.8 ในปีนี้

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐฯ เดือนกันยายนปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.0 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 2.1 ในเดือนสิงหาคม

- สถาบันจัดการด้านอุปทานสหรัฐฯ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีกิจกรรมภาคธุรกิจในนิวยอร์กปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 65.8 ในเดือนตุลาคม เป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม หลังจากลดลงแตะระดับ 44.5 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.52 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 121.36 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.64 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคมปิดตลาดที่ 47.90 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.76 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยได้รับแรงหนุนจากรายงานว่า บริษัทกลั่นน้ำมันยังชะลอการผลิตลงในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม นอกจากนี้สัญญาน้ำมันดิบยังได้ปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ว่าสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) จะเปิดเผยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงในสัปดาห์นี้

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 50.54ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 147.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.0 เยนต่อ กิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 156.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 3.1 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 123.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ประธานาธิบดีจีนกล่าวว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 13 จะช่วยสร้างโอกาสให้แก่ประเทศต่าง ๆ โดยแผนพัฒนาดังกล่าวระบุว่า จีนจะเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และรายได้ประชากรต่อหัวขึ้น 2 เท่าจากปี 2553 ภายในปี 2563 และจะมีการแก้ไขปัญหาความยากจน ขณะเดียวกันได้ยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวเพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานในประเทศ ทำให้โครงสร้างประชากรมีความสมดุล

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงตามตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแหล่งข่าวรายงานว่ายังขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ และมีการขายฝากไว้ในโรงงานจำนวนมากที่รอให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อย ทำให้ราคายางไม่ปรับลงมากตามราคาตลาดล่วงหน้า

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในกรอบแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากภาคใต้มีฝนตกชุกเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง ส่วนปัจจัยลบมาจากความกังวลเกี่ยวกับกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคมนี้ ประกอบกับสต๊อคยางจีนเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในปีนี้ที่ 227,249 ตัน (วันที่ 30 ตุลาคม 2558) จากระดับ 224,382 ตัน (วันที่ 23 ตุลาคม 2558) บ่งชี้ว่าการใช้ยางยังคงซบเซาตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา