ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558  (อ่าน 888 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88322
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่  9  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2558
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ภาคใต้มีฝนหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และปัตตานี ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีอุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

2. การใช้ยาง


- สมาคมรถยนต์โดยสารจีนเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์โดยสารเดือนตุลาคมพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 7 เดือน หลังรัฐบาลจีนปรับลดภาษีจากการซื้อรถยนต์ เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ที่ซบเซาในตลาดรถยนต์ของประเทศ โดยสมาคมระบุว่ายอดจำหน่ายรถยนต์และรถยนต์เอนกประสงค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 แตะ 1.85 ล้านคันในเดือนตุลาคม ขยายตัวมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558

- สมาคมผู้นำเข้ารถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่นำเข้าโฟล์คสวาเกนในญี่ปุ่นเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 48.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พร้อมระบุว่ายอดจำหน่ายรถยนต์นำเข้าในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นที่ผลิตในต่างประเทศลดลงร้อยละ 6.6 แตะที่ 21,068 คัน

3. สต๊อคยาง


- สต๊อคยางจีน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2558 ลดลง 406 ตัน หรือลดลงร้อยละ 0.18
อยู่ที่ 226,843 ตัน จากระดับ 227,249 ตัน เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2558

4. เศรษฐกิจโลก


- สำนักงานศุลกากรจีนเปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนตุลาคมหดตัวลงร้อยละ 3.6 แตะ 1.23 ล้านล้านหยวน ขณะที่ยอดนำเข้าลดลงร้อยละ 16.0 สู่ระดับ 8.3314 ล้านล้านหยวน ส่วนยอดเกินดุลการค้าพุ่งขึ้นร้อยละ 40.2 อยู่ที่ 3.9322 แสนล้านหยวน

- ยอดการค้าระหว่างประเทศของจีนเดือนตุลาคมลดลงร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี และ 2.06 ล้านล้านหยวน ปรับตัวลงมากกว่าตัวเลขเดือนกันยายนที่หดตัวลงร้อยละ 8.8 และปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 8 นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2558

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาเซนต์หลุยส์ กล่าวว่า เขาเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความพร้อมรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากมีความคืบหน้าในตลาดแรงงาน

- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนกันยายนลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป้นการปรับตัวลงเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ตอกย้ำว่าเศรษฐกิจเยอรมันกำลังได้รับผลกระทบจากอุปสงค์ที่อ่อนแอในต่างประเทศที่รวมถึงจีนและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ

5. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.82 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.25 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 123.40 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 1.75 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

6. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนธันวาคมปิดตลาดที่ 44.29 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.91 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากดอลล่าร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกอืบ 7 ปี หลังสหรัฐฯ เปิดเผยข้อมูลจ้างงานนอกภาคเกษตรที่แข็งแกร่ง

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดที่ 47.42ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

7. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม อยู่ที่ 146.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อ กิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 154.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 122.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

8. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานภาคเกษตรเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 271,000 ตำแหน่ง เป็นการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 ขณะที่อัตราว่างงานลดลงสู่ร้อยละ 5.0 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง

9. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากปริมาณยางมีน้อยมาก เพราะฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ขณะที่ตลาดต่างประเทศยังคงปรับตัวลดลง การซื้อขายซบเซา ส่วนมากจะเป็นการปั่นราคาของนักลงทุนในตลาดล่วงหน้า

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์ยาง หลังจากจีนรายงานข้อมูลการส่งออกและนำเข้าที่ย่ำแย่ รวมทั้งข้อมูลการจ้างงานที่แข็งแกร่งเกินคาดของสหรัฐฯ ช่วยหนุนกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ภาคใต้ของไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และเงินบาทอ่อนค่ายังคงเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา