วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ปัจจัย
วิเคราะห์
1.สภาพภูมิอากาศ
- ภาคใต้มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักบางแห่งร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น ๆ อุณหภูมิลดลงเล็กน้อยและมีอากาศเย็นในตอนเช้า
2.การใช้ยาง
- ออโต้ดาต้า คอร์ป เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์ใหม่ในตลาดสหรัฐฯ ในเดือนตุลาคม อยู่ที่ 1,455,516คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำสถิติปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 16
3. เศรษฐกิจโลก
- เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลจีน เปิดเผยว่า จีนไม่ได้ตั้งเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจไว้ที่ร้อยละ 6.5 แต่อย่างใด ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี ได้กล่าวไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ออกมาเตือนว่า ภาวะชะลอตัวของการค้าทั่วโลกอาจส่งผลกระทบทำให้ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกประสบภัยภาวะถดถอยรอบใหม่ โดยในรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก OECD คาดการณ์ว่าการค้าโลกจะมีการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในปีนี้ แต่จะขยายตัวร้อยละ 3.6 ในปีหน้า
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าเดือนกันยายน ของเยอรมนีปรับตัวลงแตะ 1.97 หมื่นล้านยูโร เมื่อเทียบกับระดับ 1.97 หมื่นล้านยูโรในเดือนสิงหาคม ซึ่งต่ำกว่าที่คาดว่าจะเกินดุล 2 หมื่นล้านยูโร
- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ประกาศปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2559 ซึ่งสะท้อนถึงภาวะการค้าที่ซบเซา ท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะเติบโตร้อยละ 3.3 ในปีหน้าลดลงจากร้อยละ 3.6 ที่คาดการณ์ในเดือนกันยายน และจะขยายตัวร้อยละ 3.6 ในปี 2560 โดยระบุว่า
จีน จะขยายตัวร้อยละ 6.5 ในปีหน้า และร้อยละ 6.2 ในปี 2560 โดยมีปัจจัยลบจากการลงทุนในภาคการผลิตที่ชะลอตัว
เศรษฐกิจสหรัฐฯ จะยังคงขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปีหน้า โดยได้แรงหนุนจากการบริโภคในภาคครัวเรือน และการลงทุนในภาคเอกชน
ส่วนกลุ่มยูโรโซน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 ในปี 2559 จากปัจจัยบวกของการใช้มาตรการกระตุ้นทางการเงินและราคาน้ำมันที่ลดลง
ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจญี่ปุ่นในปีหน้าเหลือร้อยละ 1.0 จากเดิมที่ร้อยละ 1.2 และจะขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ในปี 2560 หลังจากมีการปรับขึ้นภาษีบริโภค
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 123.21 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.19 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม ปิดตลาดที่ 43.87 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.42 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีรายงานว่ากลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม
- ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ ส่งมอบเดือนธันวาคม ลดลง 0.23 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปิดที่ 47.19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
- เลขาธิการกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) กล่าวว่า คาดว่าตลาดน้ำมันจะมีความสมดุลมากขึ้นในปีหน้า ขณะที่อุปสงค์เพิ่มมากขึ้น
6. การเก็งกำไร
- TOCOM ส่งมอบเดือนธันวาคม 2558 อยู่ที่ 149.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนเมษายน 2559 อยู่ที่ 156.8 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.9 เยนต่อกิโลกรัม
- ราคาตลาด SICOM เปิดตลาดที่ 120.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 1.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะมีการรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงินของเฟดในเดือนธันวาคม นี้ เพื่อพิจารณาความคืบหน้าทางเศรษฐกิจพร้อมกับแสดงความมั่นใจว่าสหรัฐฯ จะบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 หากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นไปตามที่คาดไว้
8. ข้อคิดเห็นของ ผู้ประกอบการ
- ราคายางน่าจะปรับขึ้นได้เล็กน้อย จากภาวะปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม สภาพปัจจัยลบจากต่างประเทศยังคงกดดันราคายางอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากเงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งภาคใต้ของไทยมีฝนตกหนักเกิดภาวะน้ำท่วมในบางพื้นที่ ส่งผลให้ปริมาณยางออกสู่ตลาดน้อย อย่างไรก็ตาม องค์การเพื่อการร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(CECD) ปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2559 และกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้ายังเป็นปัจจัยกดดันราคายางได้ในระดับหนึ่ง
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา