ผู้เขียน หัวข้อ: แตกใบอ่อน : อย่าแค่หว่านเงิน  (อ่าน 352 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด
แตกใบอ่อน : อย่าแค่หว่านเงิน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2015, 09:54:47 AM »
แตกใบอ่อน : อย่าแค่หว่านเงิน

สัปดาห์ที่ผ่านมามีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเลข ?หนี้สิน? ครัวเรือนภาคการเกษตร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงภาวะอันน่าเป็นห่วงอย่างยิ่งของอนาคตเกษตรกรไทย หากรัฐบาลหรือกระทรวงเกษตรฯยังคงไม่ปรับกระบวนการทำงานเชิงรุกให้เข้มข้น ยิ่งกว่าเดิม

ชิ้นแรกเป็นผลการสำรวจภาวะสังคมไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2558 ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
 (สศช.) หรือ ?สภาพัฒน์? โดยผลปรากฏว่า ภาวะการมีงานทำของคนไทยลดลง0.2% เนื่องจากการจ้างงานในภาคการเกษตรลดลงต่อเนื่อง 3.8% ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ที่ทำให้แรงงานภาคการเกษตรต้องเคลื่อนย้ายไปหางานอื่นทำ และยังส่งผลให้แนวโน้มอัตราการว่างงานของภาคการเกษตรในไตรมาสที่ 4 อาจเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมาถึงประเด็นเรื่อง ?หนี้สินครัวเรือน? ของภาคการเกษตร ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องติดตามจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ที่ ณ นาทีนี้ ปัญหาดังกล่าวยังไม่ปะทุรุนแรงขึ้นมา เนื่องจากได้สารพัดมาตรการเร่งด่วนของรัฐบาลที่พยายามเข็นออกมาบรรเทาผล กระทบ เช่น การชดเชยรายได้จากภัยแล้ง การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ทำให้ ?ฝี? ยังไม่แตก แต่นั่นก็ไม่ได้ยังไม่มีใครกล้าให้คำตอบได้ว่า ในอนาคต?ฝีหนอง? ที่เกิดขึ้นจะหายไปหรือ ?กลัดหนอง? มากขึ้นกว่าเดิม
รายงานอีกชิ้น ที่ถือว่าน่าสนใจไม่แพ้กัน คือ ผลการศึกษาภาวะหนี้สินเกษตรกรและแนวทางการปรับปรุงศักยภาพการดำเนินงานกอง ทุนที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่ง?สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร? (สศก.) ได้ว่าจ้างให้ ?สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย? (TDRI) เป็นผู้ทำการศึกษา ซึ่งพบว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นแหล่งเงินกู้ยืมที่สำคัญที่สุดของภาคการเกษตรไทย โดยในปี 2557 มียอดเงินลูกหนี้คงเหลือสูงสุดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63 รองลงมาเป็น ธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์การเกษตร กองทุนต่างๆ ในกำกับของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการก่อหนี้และความยากจนของเกษตรกร คือ เกษตรกรเข้าไม่ถึงแหล่งความรู้และการพัฒนาทักษะ อีกทั้งไม่มีความสามารถในการจัดการความเสี่ยงด้านการผลิต

ขณะที่แนวทางแก้ไข TDRI เสนอว่า การดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะต้องพัฒนาและใช้ระบบการคัดเลือกเกษตรกรที่ดี มีการวางกรอบในการพัฒนาฐานข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงวางระบบติดตามที่เน้นการประเมินผลลัพธ์ และสิ่งสำคัญ คือ ไม่ควรเน้นให้ความช่วยเหลือด้วยการเติมเงินหรือใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่ควรสร้างวินัยทางการเงินและฟื้นฟูอาชีพให้กับเกษตรกรอย่างเป็นระบบ

ข้อมูลสำคัญที่รายงานฉบับนี้กล่าวถึง คือ ในเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สิน แม้กระทรวงเกษตรฯจะมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และลดปัญหาความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคมในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินจากกองทุนภายใต้การกำกับ ดูแลของกระทรวงเกษตรฯ แต่ที่ผ่านมาก็ยังพบว่า เกษตรกรยังคงมีหนี้สินค้างชำระกองทุนเป็นจำนวนมาก

เนื่องจากกองทุนไปเน้นให้ความสำคัญการอุดหนุนเงิน มากกว่าการพัฒนาศักยภาพและอาชีพ ซึ่งไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ส่งผลให้เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
ผลที่ออกมา จึงสะท้อนให้เห็นว่าในอนาคตต่อไปนี้ หากรัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรให้ได้อย่างจริงจังและเห็นผล แนวทางหนึ่งที่เลี่ยงไม่พ้น คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานภายใน และการใช้งบประมาณของกองทุนต่างๆ

การหว่านเงินลงไปเพื่อแก้ไขปัญหานั้น ทำได้ครับ แต่ก็ได้ผลเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น หากต้องการผลสัมฤทธิ์ระยะยาว ยังจำเป็นต้องมีการดำเนินการอื่นๆ ควบคู่กันไปด้วย
ผลการศึกษามีแล้ว แนวความคิดมีแล้ว เหลือก็แต่นำไปปฏิบัติให้จริงจัง ก็น่าจะช่วยทำให้ความหนักหน่วงของปัญหาลดทอนลงไปได้เยอะทีเดียว



ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้า (วันที่ 26 พฤศจิกายน 2558)