ผู้เขียน หัวข้อ: แห่ผลิตข้าวถุงช่วยสวนยาง แบ่งโควตารายละ 4 แสน/เป้าส่งออกปีนี้ 9 ล้านตัน  (อ่าน 464 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82789
    • ดูรายละเอียด
แห่ผลิตข้าวถุงช่วยสวนยาง แบ่งโควตารายละ 4 แสน/เป้าส่งออกปีนี้ 9 ล้านตัน

โดย ฐานเศรษฐกิจ
1 กุมภาพันธ์ 2559





ผู้ประกอบการข้าวถุงแห่ร่วมโครงการข้าวถุงช่วยชาวสวนยาง 4 ล้านถุง บิ๊กวงการทั้งเจียเม้ง ปทุมไรซ ซี.พี. ชัยทิพย์ ไม่พลาด แบ่งโควตา 10 ราย รายละ 4 แสนถุง มั่นใจกระจายถึงมือชาวสวนยางได้หมดกลางกุมภาพันธ์นี้ ด้านสมาคมส่งออกข้าวประเมินส่งออกข้าวไทยปีนี้ 9 ล้านตัน พร้อมปรับลดส่งออกทุกชนิดลงหลังเศรษฐกิจโลกฝืด ผู้นำเข้าสั่งซื้อลดลง



เหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยส่วนหนึ่งได้มีโครงการข้าวสารบรรจุถุง โดยให้องค์การคลังสินค้า(อคส.)ตกลงกับสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทยจัดทำข้าวสารเจ้า 5% ขนาด 5 กิโลกรัมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่ 68 จังหวัด จำนวน 8.02 แสนครัวเรือน จำนวน 4.01 ล้านถุง โดยจะมีการระบุข้อความ โครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราปรากฏอยู่บนถุงข้าวสารที่จะนำไปบริจาค ระยะเวลาดำเนินการ 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.2559) นั้น


นายสมเกียรติ มรรคยาธร นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผย ?ฐานเศรษฐกิจ? ว่า ทางสมาคมได้สอบถามไปยังสมาชิกของสมาคมซึ่งก็มีผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 100ราย แต่มีที่ยื่นความจำนงเข้ามาประมาณ 10 ราย อาทิ บริษัท เจียเม้งฯ ผู้ผลิตข้าวถุงตราหงษ์ทอง บริษัท ปทุมไรซ มิล แอนด์ แกรนารีฯ ผู้ผลิตข้าวมาบุญครอง บริษัทข้าว ซี.พี. จำกัด ผู้ผลิตข้าวตราฉัตร โรงสีไฟสามัคคี บริษัท ชัยทิพย์ฯ ผู้ผลิตข้าว พนมรุ้ง เป็นต้น ทั้งนี้สมาคมจะแบ่งโควตาการผลิตรายละเท่าๆ กันประมาณรายละ 4 แสนถุง ในจำนวนข้าวที่ต้องแจกเกษตรกร 4 ล้านถุง ซึ่งผลตอบแทนที่เอกชนได้จะเป็นข้าวในสต๊อกรัฐบาล


?ตอนนี้ก็เจรจาข้อตกลงเรียบร้อยแล้ว ก็เหลือแค่รอถุงที่จะนำมาบรรจุข้าวสารจากบริษัทที่ผลิตถุงเท่านั้น ซึ่งหากได้ถุงบรรจุข้าวสารมาทางเราก็นำมาบรรจุได้ทันที น่าจะใช้เวลาในการกระจายข้าวไปยังจุดต่างๆได้หมดภายใน7วัน ก็คาดว่ากลางเดือนกุมภาพันธ์น่าจะกระจายได้หมด?


ด้านนายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวสรุปภาพรวมปี 2558 ไทยส่งออกข้าวได้ 9.79 ล้านตัน ลดลงจากปี 2557 ที่ส่งออกได้ 10.97 ล้านตัน โดยมีมูลค่าการส่งออก 4.613 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลง 15.2% และในรูปเงินบาทที่ 1.55 แสนล้านบาท ลดลง 10% เป็นอันดับ 2 รองจากอินเดียที่ส่งออกได้ 10.23 ล้านตัน ส่วนในปี 2559 คาดการณ์ส่งออกไว้ที่ 9 ล้านตัน มูลค่า 4.300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 1.44 แสนล้านบาท
ขณะที่นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมได้มีการปรับลดเป้าการส่งออกข้าวแต่ละชนิดในปีนี้ลงเนื่องจากภาวะ เศรษฐกิจโลก ผู้นำเข้าข้าวบางประเทศลดการนำเข้าข้าวจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยข้าวหอมมะลิ คาดว่าจะส่งออกได้ 1.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่ 2 ล้านตัน ข้าวนึ่ง คาดจะส่งออกได้ 2.2 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อนที่ส่งออกปริมาณ 2.3 ล้านตัน และข้าวขาว ปริมาณ 4.9 ล้านตัน ลดลงจากปี 2558 ที่ส่งออกได้ 5.2 ล้านตัน สาเหตุเพราะการแข่งขันจะสูงขึ้นโดยเฉพาะจากเวียดนามที่พบว่าผลผลิตฤดูกาล หลักมีปริมาณสูงถึง 3.5 ล้านตัน ขณะที่ไทยมีปริมาณผลผลิตลดลงจากปัญหาภัยแล้ง
?สำหรับสถานการณ์ราคา คาดว่าข้าวขาวจะเฉลี่ยอยู่ที่ ตันละ 365 ดอลลาร์สหรัฐฯ ข้าวหอมมะลิ ตันละ 720 ดอลลาร์สหรัฐฯ และข้าวนึ่งตันละ 350 ดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนข้าวเปลือกจะเฉลี่ยที่ตันละ 8 พันบาท ซึ่งเป็นราคาที่ได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว หลังจากลดลงต่ำสุดในรอบ 10 ปี และคาดว่าในไตรมาส 1 ปีนี้ ราคาจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจาก ภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตของไทยลดลง โดยจะมีความชัดเจนหลังเดือนเมษายนถึงกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด คาดว่าปริมาณข้าวจะหายไปประมาณ 4-5 ล้านตัน (ข้าวสาร)
อย่างไรก็ตาม ราคาจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาก เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังซบเซาทำให้ความต้องการไม่กระเตื้องเท่าที่ควร ขณะเดียวกันไทยยังมีข้าวในสต๊อกรัฐบาลอีก 13.5 ล้านตันข้าวสาร ดังนั้นรัฐบาลไทยสามารถใช้โอกาสนี้ในการระบายข้าวออกสู่ตลาดปริมาณใกล้เคียง ที่ 4-5 ล้านตันได้และหากเป็นไปตามแผนคาดว่าภายใน 2 ปี จะทำให้ข้าวในสต๊อกลดลงและสภาพตลาดจะกลับสู่ภาวะปกติได้
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,127
 วันที่ 31 มกราคม ? 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559