ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 917 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88359
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่  4  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น ส่วนภาคใต้มีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์อินโดนีเซียประเมินว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ปี 2559 จะเติบโตร้อยละ 5.0 เป็น 1.05 ล้านคัน ขณะที่ปีที่ผ่านมามียอดจำหน่าย 1.01 ล้านคัน ลดลงร้อยละ 16.0 เมื่อเทียบกับปี 2557 และส่งออกรถยนต์ 2.07 แสนคัน เพิ่มขึ้น 5,000 คัน

3. เศรษฐกิจโลก


- ผลสำรวจจากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) พบว่าภาคบริการเดือนมกราคมชะลอตัวลง ทั้งนี้ดัชนีภาคบริการของ ISM อยู่ที่ 53.3 ลดลงจาก 55.8 ในเดือนธันวาคม

- คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) เปิดเผยว่า จีนตั้งเป้าที่จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 6.5 - 7.0 ในปี 2559

- กระทรวงพาณิชย์จีนเปิดเผยว่า มูลค่าการค้าภาคบริการต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7.136 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐในปี 2558 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

- รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในประเทศเดือนมกราคมลดลง ท่ามกลางราคาหุ้นที่ลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัว และการลดลงของราคาน้ำมัน ซึ่งทางภาครัฐได้ปรับลดประเมินความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

- มาร์กิต อิโคโนมิกส์ เปิดเผยผลสำรวจเดือนมกราคม ดังนี้

    เศรษฐกิจยูโรโซนชะลอตัวลง บ่งชี้ว่าภาวะผันผวนในตลาดการเงินโลกกำลังส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางธุรกิจในภูมิภาค ทั้งนี้มาร์กิตระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ซึ่งใช้วัดกิจกรรมทั้งภาคการผลิตและบริการในเขตยูโรโซนลดลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนที่ 536 จาก 54.3 ในเดือนธันวาคม
    ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการฝรั่งเศสปรับขึ้นสู่ระดับ 50.3 ซึ่งสูงสุดในรอบ 2 เดือน จาก 49.8 ในเดือนธันวาคม
    ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเยอรมันปรับตัวลดลงแตะ 55.0 จาก 56.0 ในเดือนธันวาคม
    ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการอิตาลีลดลงแตะ 53.6 จาก 55.3 ในเดือนธันวาคม
    ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการจีนเพิ่มขึ้นแตะ 52.4 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน จาก 50.2 ในเดือนธันวาคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.64 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.18 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 118.09 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.54 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 32.28 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากที่รัสเซียส่งสัญญาณพร้อมเปิดช่องทางในการเจรจากับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) เพื่อร่วมมือกันกระตุ้นราคาน้ำมัน โดยความเคลื่อนไหวดังกล่าวช่วยหนุนสัญญาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้น และสามารถสกัดปัจจัยลบจากรายงานที่ระบุว่าสต๊อคน้ำมันสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 35.04 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 2.32 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อคน้ำมันดิบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้น 7.8 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 502.7 ล้านบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 150.5 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 157.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.5 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 121.8 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ผลสำรวจของออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (ADP) ระบุว่าเดือนมกราคมภาคเอกชนสหรัฐฯ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 205,000 ตำแหน่ง ลดลงจากเดือนธันวาคม แต่สูงกว่าคาดการณ์ที่ 195,000 ตำแหน่ง

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือสูงขึ้นได้เล็กน้อย เพราะปริมาณผลผลิตที่ลดลงตามฤดูกาล ทำให้ผู้ประกอบการเร่งซื้อ ขณะที่ตลาดต่างประเทศค่อนข้างเงียบ โดยเฉพาะผู้ซื้อจากจีนชะลอการซื้อในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อย เพราะเริ่มเข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ ขณะที่ราคายางมีปัจจัยลบจากเงินเยนและเงินบาทแข็งค่า ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐฯ จีน และยุโรป ยังคงเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ในเดือนมกราคม



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา