ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 987 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  5  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นและอุณหภูมิลดลงอีก 3 - 6 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงความร่วมมือไตรภาคียางว่า ผู้ส่งออก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่จะลดปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติในปีนี้เป็นจำนวน 615,000 ตัน ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม - 31 สิงหาคม 2559

- สมาคมผู้นำเข้ายานยนต์แห่งประเทศญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์ใหม่ในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตญี่ปุ่นที่ผลิตในต่างประเทศลดลงร้อยละ 2.2 ในเดือนมกราคม เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 20,373 คัน ส่วนยอดจำหน่ายรถยนต์ต่างชาติปรับตัวลดลงร้อยละ 0.8 อยู่ที่ 17,045 คัน ขณะที่ยอดจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 8.8 อยู่ที่ 3,328 คัน

3. เศรษฐกิจโลก


- คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ประกาศปรับลดคาดการณ์การขยายตัวเศรษฐกิจยูโรโซน หลังจากที่เผชิญกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้า และอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าคาดการณ์ รวมทั้งอัตราว่างงานที่เพิ่มถึง 2 หลัง ทั้งนี้ EC คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ยูโรโซนปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงจากร้อยละ 1.8 ที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 นอกจากนี้ EC คาดว่าสหภาพยุโรปจะขยายตัวร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และร้อยละ 2.0 ในปีหน้า ต่ำกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน

- บริษัทโกลด์แมน แซคส์ ออกรายงานว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 3 ครั้งในปีนี้ โดยจะไม่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนธันวาคมลดลงมากที่สุดในรอบ 1 ปี ทั้งนี้ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานลดลงร้อยละ 2.9 หลังจากลดลงร้อยละ 0.7 ในเดือนพฤศจิกายน โดยได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินดอลล่าร์สหรัฐ และอุปสงค์ที่อ่อนแอในต่างประเทศ

- ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ นอกจากนี้ยังมีมติคงวงเงินการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ที่ระดับ 3.75 แสนล้านปอนด์

- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอังกฤษคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอังกฤษจะขยายตัวร้อยละ 2.3 ในปีนี้ และร้อยละ 2.7 ในปีหน้า

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานนอกภาคเกษตรลดลงในไตรมาส 4 มากที่สุดในรอบกว่า 1 ปี ทั้งนี้ประสิทธิภาพการผลิตลดลงร้อยละ 3.0 ในไตรมาส 4 โดยปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2557 หลังจากที่ปรับตัวขึ้นร้อยละ 2.1 ในไตรมาส 3

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.62 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 116.94 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.15 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 31.72 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหลังจากราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นแข็งแกร่งช่วงก่อนหน้านี้ นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด และความไม่แน่นอนที่ว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่จะปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 34.46 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.58 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- มอร์แกน สแตนเลย์ ประกาศปรับลดคาดการณ์ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเบรนท์ปีนี้ลงสู่ 30 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่ 49 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 148.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.7 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 155.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 124.4 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้วเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 8,000 ราย อยู่ที่ 285,000 ราย สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 280,000 ราย อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 รายเป็นสัปดาห์ที่ 48 ติดต่อกัน

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย จากการชะลอซื้อของนักลงทุนในช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีน ทำให้ขายออกยาก ไม่มีผู้ซื้อ ขณะที่แหล่งข่าวรายงานว่าราคายางในระยะนี้ทิศทางการเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน คาดการณ์ยากมาก ขึ้นอยู่กับการเก็งกำไรของ
นักลงทุนในตลาดล่วงหน้าว่าจะนำข่าวด้านบวกหรือลบมาอ้างอิงในทิศทางที่ต้องการ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยลบจากการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับราคาน้ำมันเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปรับตัวลดลง ขณะที่นักลงทุนยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากจีน สหรัฐฯ และยุโรป รายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังคงเคลื่อนไหวในกรอบจำกัด เพราะยังมีปัจจัยหนุนจากปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และนโยบายการรับซื้อยางของรัฐบาล



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา