ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 903 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88359
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  10  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนเว้นแต่ภาคเหนือ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 - 4 องศาเซลเซียส และมีหมอกในตอนเช้า แต่โดยทั่วไปยังคงมีอากาศเย็น ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ เอื้อต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทยจะได้รับปัจจัยสนับสนุนในปี 2559 จากแรงขับเคลื่อนของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ รวมถึงการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจโลก และราคาสินค้าส่งออก ส่งผลให้อุตสาหกรรมรถยนต์ปี 2559 มียอดการผลิตประมาณ 2,150,000 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0

3. เศรษฐกิจโลก


- สหพันธ์ธุรกิจแห่งชาติสหรัฐฯ (NFIB) แถลงว่า ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจขนาดย่อมลดลงสู่ระดับ 93.9 ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2557 จากระดับ 95.2 ในเดือนธันวาคม

- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมันรายงานว่า ผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคมลดลงร้อยละ 1.2 จากเดือนพฤศจิกายน ถือเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเยอรมันปิดท้ายปี 2558 เป็นไปอย่างซบเซา

- กระทรวงการค้าฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ตัวเลขขาดดุลงบประมาณได้ลดลงร้อยละ 17.6 สู่ระดับ 7.05 หมื่นล้านยูโร ในปี 2558 ลดลงจากตัวเลขคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 7.44 หมื่นล้านยูโร

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.42 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.09 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 114.44 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.67 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นกล่าวว่า อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเยนมีความเคลื่อนไหวอย่างผันผวน และรัฐบาลจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หลังจากที่ดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าแตะระดับต่ำสุดในรอบ 15 เดือน ที่ 115 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้นักลงทุนหันไปถือเงินเยนในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 27.94 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.75 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ WTI และน้ำมันดิบเบรนท์ในปีนี้ นอกจากนี้ยังระบุว่าภาวะน้ำมั้นล้นตลาดจะยังคงอยู่ต่อไปในปีนี้ ขณะที่กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) ไม่มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลงปรับลดกำลังการผลิตร่วมกับผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่ม

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 30.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 2.56 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) คาดการณ์ว่าผลผลิตของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale oil) รายใหญ่ 7 แห่งในสหรัฐฯ จะลดลง 92,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคม จากระดับเดือนกุมภาพันธ์

- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมัน WTI ลงสู่ระดับเฉลี่ย 37.59 ดอลล่าร์สหัฐต่อบาร์เรล จากคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 38.54 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล และได้ปรับลดคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ลงสู่ระดับเฉลี่ย 37.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมที่ 40.15 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ขณะเดียกวัน IEA ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันในปีนี้อยู่ที่ 1.17 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากแตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี ที่ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีที่แล้ว และยังระบุว่าอุปทานน้ำมันจะยังสูงกว่าอุปสงค์น้ำมันในปีนี้

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 141.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.1 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 146.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 146.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- ตลาดหุ้นกรีซปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 27 ปี เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโครงการความช่วยเหลือทางการเงินฉบับใหม่ของกรีซ โดยโฆษกรัฐบาลกรีซกล่าวว่า กรึซและเจ้าหนี้ต่างประเทศต้องหาข้อสรุปต่อการประเมินครั้งแรกของการปฏิรูปประเทศตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวลดลงเล็กน้อย เพราะตลาดต่างประเทศยังคงซบเซา และจีนยังหยุดยาวในเทศกาลตรุษจีน ทำให้ผู้ซื้อมีน้อย ขายออกยาก ทั้งนี้ต้องรอดูสถานการณ์หลังตรุษจีนน่าจะดีขึ้นเพราะปริมาณยางน้อยลง

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว จากการแข็งค่าของเงินเยนและเงินบาท โดยเฉพาะเงินเยนแข็งค่าที่สุดในรอบ 15 เดือน ประกอบกับความวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก หลังจากราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดตลาดต่ำสุดในรอบ 13 ปี หรือตั้งแต่ปี 2545 อย่างไรก็ตาม ปริมาณยางที่ออกสู่ตลาดน้อยลง มาตรการจากประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่เตรียมลดการส่งออกยาง 615,000 ตัน เพื่อกระตุ้นราคายาง และมาตรการรับซื้อยางของรัฐบาล ยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา