ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 1066 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88364
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  12  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมภาคใต้อ่อนกำลังลง ทำให้ภาคใต้โดยภาพรวมสภาพอากาศเอื้อต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- นายเชาว์ ทรงอาวุธ ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า กยท. เตรียมส่งมอบยางล๊อตแรกให้กับบริษัทชิโนแคม (Sinochem) ตัวแทนรัฐบาลจีน 16,667 ตัน ตามกำหนดในเดือนเมษายนนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือของคณะกรรมการบริหารร่วมมือด้านการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทย ? จีนที่ทำสัญญาซื้อขายผลิตภัณฑ์ยางไว้ทั้งสิ้น 200,000 ตัน เป็นยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS 3) จำนวน 150,000 ตัน และยางแท่งชั้น 20 (STR 20) จำนวน 50,000 ตัน โดยทยอยส่งมอบ
จนครบตามสัญญาภายในระยะเวลา 12 เดือน

3. เศรษฐกิจโลก


- อัตราดอกเบี้ยจำนองเฉลี่ยระยะยาวสหรัฐฯ ลดลงเป็นสัปดาห์ที่ 6 ติดต่อกัน ท่ามกลางภาวะผันผวนในตลาดโลก ทั้งนี้หน่วยงานด้านอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ รายงานว่าอัตราเฉลี่ยของดอกเบี้ยจำนองคงที่ระยะเวลา 30 ปี ลดลงสู่ร้อยละ 3.65 ในสัปดาห์ที่แล้ว

- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวแถลงการณ์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่อคณะกรรมการธนาคารประจำวุฒิสภาว่า การเปลี่ยนแปลงในเศรษฐกิจโลกได้สร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ก็ยังเป็นการเร็วเกินไปที่จะรู้ว่าความเสี่ยงเหล่านั้นมีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้เฟดเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยหรือไม่

- ธนาคารกลางสวีเดนประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับติดลบมากขึ้น พร้อมประกาศว่าธนาคารพร้อมจะดำเนินการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อ ทั้งนี้ธนาคารกลางสวีเดนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่ระดับร้อยละ -0.50 จากเดิมที่ร้อยละ -0.35

- ธนาคารกลางฝรั่งเศสเปิดเผยว่า ไตรมาสแรกเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 0.4 ขณะที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ระดับร้อยละ 1.5 ในปี 2558

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.31 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.03 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 112.41 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.46 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 26.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.24 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคูชิง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นจุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 30.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- โกลด์แมน แซคส์ รายงานว่า ภาวะอุปทานล้นตลาดและภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนบ่งชี้ว่าราคาน้ำมันจะยังคงอยู่ในระดับต่ำจนถึงครึ่งปีหลังของปีนี้ โดยคาดว่าราคาน้ำมันจะยังคงแกว่งตัวระหว่าง 20 - 40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยมีความผันผวนในระดับสูง และราคาปรับตัวไร้ทิศทางจนถึงช่วงครึ่งหลังของปีนี้

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 141.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 146.8 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.3 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 121.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า อัตราจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้นใน EU ส่งผลให้เพิ่มขึ้นแตะระดับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ ทั้งนี้อัตราจ้างงานใน EU สำหรับประชาชนวัย 20 - 61 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในไตรมาส 3 ปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 70.6

- ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า สินเชื่อบ้านสำหรับการซื้อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2558 โดยสินเชื่อดังกล่าวมียอดสะสมเพิ่มขึ้นแตะ 13.1 ล้านล้านหยวน (2 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในช่วงปลายปี 2558 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบเป็นรายปี

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งใหม่ลดลง 16,000 ราย อยู่ที่ 269,000 รายในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะปริมาณยางน้อยลงตามฤดูกาล ยังมีผู้ซื้อเก็บเพื่อส่งมอบหลังตรุษจีน ขณะที่เงินบาทแข็งค่าเร็ว ส่งผลต่อผู้ส่งออกค่อนข้างมาก จึงต้องปรับราคาลง

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลง เพราะใกล้เข้าสู่ฤดูยางผลัดใบ และมาตรการจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ที่เตรียมลดการส่งออกยาง รวมทั้งมาตรการรับซื้อยางจากรัฐบาลเพื่อกระตุ้นราคายาง อย่างไรก็ตาม ราคายางยังมีปัจจัยลบจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา