ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 847 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88359
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  17  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ขณะที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกเป็นแห่ง ๆ ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนเปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์พลังงานใหม่พุ่งทะยานขึ้นถึงร้อยละ 144.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 16,100 คันในเดือนมกราคม

3. เศรษฐกิจโลก


- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า เฟดควรรอต่อไปเพื่อให้มีหลักฐานมากขึ้นเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้น ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 2

- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า ยอดการปล่อยกู้ใหม่สกุลเงินหยวนเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 2.51 ล้านล้านหยวน (3.85 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐ) และหากเทียบกับเดือนธันวาคม 2558 ยอดปล่อยกู้สกุลเงินหยวนเพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มบังคับใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ โดยมีเป้าหมายที่จะจัดการกับภาวะเงินฝืด ขณะที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงขาลง ท่ามกลางความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดใช้จ่ายภาคครัวเรือนปี 2558 ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยลดลงสู่ระดับ 247,126 เยน และลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 2

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.65 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 113.99 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.61 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดตลาดที่ 29.04 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.40 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนผิดหวังต่อข่าวที่ว่า 4 ชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ซึ่งได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย กาตาร์ และเวเนซูเอล่า เห็นพ้องให้ตรึงกำลังการผลิต โดยไม่มีการปรับลดกำลังการผลิตแต่อย่างใด

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมีนาคม 2559 ปิดที่ 32.18 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.21 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

- นักวิเคราะห์แสดงความผิดหวัง หลังจาก 4 ชาติผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย กาตาร์ และเวเนซูเอล่า เห็นพ้องให้ตรึงกำลังการผลิต โดยไม่มีการปรับลดกำลังการผลิตแต่อย่างใด

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 145.1 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.5 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 153.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 128.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ไม่เปลี่ยนแปลง

7. ข่าว


- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐฯ (NAHB) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้สร้างบ้านลดลง 3 จุด สู่ระดับ 58.0 ในเดือนมกราคม เพราะได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่สูงขึ้นสำหรับราคาที่ดินและค่าแรง

- สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ระบุว่า การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ จะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานของธนาคารรายใหญ่ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.0 สำหรับปีงบการเงิน 2559 เนื่องจากธนาคารต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการฝากเงินที่สำรองไว้กับ BOJ และรายได้ที่ลดลงจากการปล่อยกู้และการถือพันธบัตร

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะผู้ประกอบการหลายรายยังมีความต้องการซื้อเพื่อเก็บสต๊อคและส่งมอบ ขณะที่ปริมาณผลผลิตลดลงตามฤดูกาล

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลงตามฤดูกาล และนักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก หลังจากสหรัฐฯ และจีนเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ขณะที่ปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลงจากการแข็งค่าของเงินเยน และราคาน้ำมันที่เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา