ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  (อ่าน 952 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88359
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่  24  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณความกดอากาศสูงยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลงและมีลมแรงกับมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนตกบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ไม่ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้นำเข้าและจำหน่ายรถยนต์เกาหลีใต้ (KAIDA) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์หรูจากต่างประเทศเดือนมกราคมลดลงร้อยละ 33.4 อยู่ที่ 16,234 คัน เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม ซึ่งมียอดจำหน่ายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 24,366 คัน

3. เศรษฐกิจโลก


- คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนกุมภาพันธ์ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 92.2 หลังแตะ 97.8 ในเดือนมกราคม

- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาริชมอนด์ เปิดเผยว่า ภาคการผลิตภูมิภาคแอตแลนติกตอนกลางอยู่ในภาวะหดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ โดยดัชนีภาวะธุรกิจในปัจจุบันของภาคการผลิตลดลงสู่ระดับ -4 หลังจากอยู่ที่ระดับ 2 ในเดือนมกราคม

- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4 ปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เท่ากับไตรมาส 3 และสอดคล้องกับการประมาณการเบื้องต้น แต่หากเทียบเป็นรายปี GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวร้อยละ 2.1 หลังจากที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 3

- ธนาคารกลางเกาหลีใต้เปิดเผยว่า การส่งออกของเกาหลีใต้เดือนมกราคมปรับตัวลงมากที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจภายในประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก โดยรายงานระบุว่าดัชนีการส่งออกเดือนมกราคมอยู่ที่ระดับ 121.67 ลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี

- นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้นในการประชุมการเงินของ ECB ในวันที่ 10 มีนาคม 2559 หลังการเปิดเผยตัวเลข
ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมันที่ลดลงมากเกินคาด

- สถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมันเดือนกุมภาพันธ์ปรับตัวลงสู่ 105.7 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2557 หลังแตะ 107.3 ในเดือนมกราคม

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.74 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.04 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 111.95 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.48 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนเมษายนปิดตลาดที่ 31.87 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.52 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากซาอุดิอาระเบียระบุว่ายังไม่แผนจะลดกำลังการผลิต นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันหลังจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนเมษายน 2559 ปิดที่ 33.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.42 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

-  สำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดการณ์ว่า การผลิตน้ำมันจากชั้นดินดาน (Shale oil) ของสหรัฐฯ ปีนี้จะปรับลดลง 600,000 แสนบาร์เรลต่อวัน และลดลงอีก 200,000 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า พร้อมนี้คาดว่าในระยะสั้นราคาน้ำมันจะยังคงเคลื่อนไหวในระดับต่ำ และอุปทานน้ำมันจะยังคงมากกว่าอุปสงค์อยู่ประมาณ 1.1 แสนล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ หลังจากที่อุปทานมากกว่าอุปสงค์อยู่ 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2558 และ 900,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2557

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมีนาคมอยู่ที่ 144.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 155.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.6 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 129.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.6 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติสหรัฐฯ (NAB) เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายบ้านมือสองในเดือนมกราคมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 สู่ระดับ 5.47 ล้านยูนิต

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีนกล่าวว่า อัตราการบริโภคของจีนจะเติบโตขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วในปี 2559 โดยอัตราการบริโภคของจีนเติบโตขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจจีน คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 66.4

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางน่าจะทรงตัว เพราะยังมีแรงหนุนจากปริมาณผลผลิตที่ลดลงตามฤดูกาล ขณะที่ผู้ประกอบการยังมีความต้องการซื้อ อย่างไรก็ตาม ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกและราคาน้ำมันจะยังคงกดดันไม่ให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นมากในระยะนี้

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดลดลงในช่วงฤดูยางผลัดใบ ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่า และนักลงทุนวิตกกังวลว่าวิกฤตราคาน้ำมันอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมพลังงานและภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลต่ออุปสงค์ยางในภาพรวมด้วย



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา