วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559
ปัจจัย
วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ
- ทุกภาคของประเทศมีอากาศร้อนในตอนกลางวันกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ทำให้อุณหภูมิลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส
2. การใช้ยาง
- ข้อมูลตามที่ระบุในวารสาร European Rubber Journal ระบุว่า ปริมาณการผลิตยางล้อทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 ต่อปีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยประเทศจีนมีสัดส่วนการผลิตมากเกือบร้อยละ 40 ของทั้งหมด และคาดว่าการผลิตในจีนจะเติบโตร้อยละ 5 ต่อปี หรือสามารถผลิตยางล้อได้ถึง 650 ล้านเส้นในปี 2563 จากเดิมที่ผลิตได้ 520 ล้านเส้นในปี 2558
3. เศรษฐกิจโลก
- แหล่งข่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า รัฐบาลและพรรครัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีมูลค่ารวมกันกว่า 5 ล้านล้านเยน (4.4 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เดิมอ่อนแรงอยู่แล้วย่ำแย่ลงไปอีก
- รายงานสถาบันยุทธศาสตร์เศรษฐกิจแห่งชาติของจีน (NAES) คาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนจะยังซบเซาต่อไปในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 และจะขยายตัวประมาณร้อยละ 6.7 ก่อนจะเริ่มมีเสถียรภาพอย่างต่อเนื่องในไตรมาส 2 ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะปรับตัวลงจากร้อยละ 6.8 ในไตรมาสที่แล้ว
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ และเป็นการปรับตัวขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีภาคการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เดือนกุมภาพันธ์ ลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน และปรับขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี
4. อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.35 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.06 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 113.55 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.02 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
5. ราคาน้ำมัน
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดตลาดที่ 39.39 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปทานน้ำมันที่สูงขึ้น นอกจากนี้นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) และผู้ผลิตนอกกลุ่มโอกเปคจะมีขึ้นในวันที่ 17 เมษายน 2559
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนพฤษภาคมปิดที่ 40.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.17 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล
6. การเก็งกำไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนเมษายนอยู่ที่ 168.7 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.0 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 176.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 2.7 เยนต่อดอลล่าร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 152.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม
7. ข่าว
- คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการธนาคารจีน (CBRC) เปิดเผยว่า สถาบันการเงินของจีนมียอดสินทรัพย์และหนี้สิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 แตะที่ 200.7 ล้านล้านหยวนเมื่อเทียบเป็นรายปี
- สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐฯ (NAR) เปิดเผยว่า ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบเป็นรายเดือน สู่ระดับ 109.1 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน หลังจากลดลงร้อยละ 3.0 ในเดือนมกราคม
8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ทำให้มีการแข่งขันสูง ขณะที่ปริมาณผลผลิตลดลงอย่างมากจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและอยู่ในช่วงฤดูยางผลัดใบ
แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่าและปริมาณผลผลิตที่ลดลงในฤดูยางผลัดใบและสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ขณะที่ผู้ประกอบการในประเทศมีความต้องการซื้อเพื่อส่งมอบ ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาชี้นำตลาดล่วงหน้าโตเกียวปรับตัวลดลง และราคาน้ำมันเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนที่มีการคาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจีนจะยังซบเซาต่อไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา