ผู้เขียน หัวข้อ: ชดเชยช่วงยางผลัดใบ ชาวบ้านแหลมโตนดกว่าร้อยร่วมปลูกแตงโม ทำมูลค่ากว่าล้านบาท  (อ่าน 919 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 87704
    • ดูรายละเอียด
ชดเชยช่วงยางผลัดใบ ชาวบ้านแหลมโตนดกว่าร้อยร่วมปลูกแตงโม ทำมูลค่ากว่าล้านบาท

ที่มา มติชนออนไลน์


  201603261240523-20021028190526 height=600
วันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านต.แหลมโตนด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จำนวน 9 หมู่บ้าน กว่า 100 ราย ปลูกแตงโมเพื่อส่งออกจาก  ต.แหลมโตนด ให้กับพ่อค้าในหลายพื้นที่ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวในช่วงหน้าแล้งและเป็นระยะเวลาที่ไม่ สามารถกรีดยางได้เป็นอย่างดี

นางจำนัน หอมเหมือน อายุ 53 ปี ชาวบ้านที่ปลูกแตงโมแซมในร่องยางพารา กล่าวว่า ตนปลูกแตงโมพันธุ์โบอิ่ง จำนวน 15 ไร่ ในพื้นที่ร่องสวนปาล์ม โดยเริ่มปลูกมาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม ที่ผ่านมาใช้เวลาปลูกประมาณ 2 เดือน แตงโมก็สามารถเก็บขายได้ในช่วงกลางเดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อนพอดีแตง โมขายได้ราคาดี โดยจะมีพ่อแม่ค้าจากจังหวัดพัทลุง และจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาซื้อถึงแปลง ในราคา กก.ละ 4-8 บาท ตามขนาดของลูกแตงโม สร้างรายให้กับครอบครัวทดแทนรายได้ ที่ไม่สามารถกรีดยางพาราในช่วงหน้ายางผลิใบ
201603261240521-20021028190526 height=449
ด้าน นายสมจิตร คงปาน อายุ 60 ปี กล่าวว่า แตงโมจะให้ผลผลิตดีในช่วงแล้งเพราะแตงโมชอบแสงแดดใช้น้ำน้อย ประกอบกับในพื้นที่ตำบลแหลมโตนด เจอปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงหน้าแล้งทุกปี ชาวบ้านก็หันไปปลูกปาล์มน้ำมันระหว่างรอปาล์มให้ผลผลิต ก็จะใช้พื้นที่ว่างปลูกแตงโมแซมในร่องปาล์ม ปัจจุบันมีชาวบ้านปลูกแตงโม จำนวน 9 หมู่บ้าน กว่า 100 ราย มีพื้นที่ปลูกไม่ต่ำกว่า 1,500 ไร่ ผลิตในช่วงเดือนมีนาคมนี้มีมากกว่า 2 แสน กก. สร้างรายได้เข้าพื้นที่มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท
นายเกษม ฤทธิเนื่อง นายกเทศมนตรีเทศบาล ต.แหลมโตนด กล่าวว่า ในช่วงหน้าแล้งทางเทศบาลได้สนับสนุนเงินกู้ ให้ชาวบ้านรวมกลุ่มกันเพื่อทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย โดยจะสนับสนุนให้กลุ่มละ 100,000 บาท โดยสมาชิกก็จะนำเงินไปเฉลี่ยกันในกลุ่ม โดยชาวบ้านส่วนใหญ่ก็นำไปลงทุนปลูกพืชระยะสั้นแซมในสวนยางพาราและสวนปาล์ม ไม่ว่าจะเป็นถั่วฝักยาว พริกสด ข้าวโพดหวาน แต่พืชที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ คือการปลูกแตงโม บางรายลงทุนเพียง 2,000 บาท ได้กำไร 3-4 หมื่นบาท มีพ่อค้ามาเข้าคิวสั่งจองถึงหน้าแปลง สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ในช่วงหน้าแล้งเป็นอย่างดี
201603261240522-20021028190526 height=449