ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 869 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88382
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่  26  เมษายน  พ.ศ. 2559

ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งกับลมกรรโชกแรง ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ส่วนภาคใต้อากาศร้อนในตอนกลางวันและมีฝนตกบางแห่งร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส

2. การใช้ยาง


- สมาคมตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์มือสองของญี่ปุ่นปี 2558 ลดลงร้อยละ 0.5 จากปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่าความต้องการรถยนต์ยังคงอ่อนแอ โดยยอดจำหน่ายลดลงแตะ 3,732,259 คัน ถือเป็นการลดลงติดต่อกันเปนปีที่ 3 และเป็นตัวเลขต่ำสุดนับตั้งแต่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2521

3. เศรษฐกิจโลก


- สถาบัน Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมันเปิดเผยว่า ผู้บริหารภาคธุรกิจของเยอรมันมีความเชื่อมั่นลดลงเกินคาดในเดือนมิถุนายน โดย Ifo เปิดเผยว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับตัวลดลงสู่ระดับ 106.6 ในเดือนเมษายน หลังแตะระดับ 106.7 ในเดือนมีนาคม ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะอยู่ที่ 107.0

- ธนาคารกลางจีนอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดเพิ่มเพื่อคลายสภาพคล่องตึงตัวในตลาดอีก 1.8 แสนล้านหยวน (2.76 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคารพาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่ขายคืนในอนาคต

- นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ในการประชุมวันพุธที่จะถึงนี้ ขณะที่การประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะมีขึ้นในวันพฤหัสบดี (28 เมษายน 2559) คาดว่าที่ประชุมจะใช้มาตรการกระตุ้นด้านการเงินเพิ่มเติม

-ธนาคารกลางจีนได้เปิดเผยแผนการดำเนินงานเร่งด่วนสำหรับปี 2559 โดยระบุว่าธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินเป็นเครื่องมือในการลดภาวะกำลังการผลิตส่วนเกินลดปริมาณสต๊อคสินค้า ลดอัตราการใช้เงินกู้เพื่อดำเนินธุรกิจ และลดต้นทุนการทำธุรกิจ โดยมุ่งเน้นในการลดกำลังการผลิตส่วนเกินในอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหิน

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่ 35.16 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่ 111.06 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.10 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดตลาดที่ 42.64 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 1.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากนักวิเคราะห์ได้ออกมาแสดงมุมมองในด้านลบต่อแนวโน้มราคาน้ำมัน นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่าสต๊อคน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิงปรับตัวสูงขึ้น

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดที่ 44.48 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.63 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 193.4 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนกันยายน อยู่ที่ 201.7 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.3 เยนต่อกิโลกรัม

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 180.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ระบุว่า ยอดจำหน่ายบ้านใหม่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือนมีนาคม สู่ระดับ 511,000 ยูนิต ซึ่ลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 512,000 ยูนิต

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ผลผลิตยางมีน้อย และราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพ ขณะที่ผู้ประกอบการหลายรายเร่งซื้อ เพราะเริ่มขาดแคลนยาง

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว และราคาน้ำมันเปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยหนุนจากอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย อีกทั้งความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมในการประชุมวันที่ 26 - 27 เมษายน 2559



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา