ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1120 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 88390
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันศุกร์ที่  29  เมษายน  พ.ศ. 2559
ปัจจัย


วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ


- บริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยมีฟ้าคะนองกับมีลูกเห็บตกบางแห่งร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุด 40-44 องศาเซลเซียส ส่วนภาคใต้มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน และมีฝนตกบางแห่งร้อยละ10 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง


- สมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดผลิตรถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสารของญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันกับของปีก่อน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน โดยยอดผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นเป็น 889,501 คัน ในเดือนมีนาคม จากจำนวน 878,577 คัน ในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว

3. เศรษฐกิจโลก


- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการเบื้องต้นสำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 0.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2014 ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะขยายตัวอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 0.7

- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนมีนาคม ปรับตัวลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบรายปีหลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการจับจ่ายใช้สอยในช่วงที่อัตราค่าแรงชะลอตัวลง  และเศรษฐกิจที่โลกยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน

- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายในการเพิ่มฐานเงินรายปี ที่ระดับ 80 ล้านล้านเยน ผ่านทางการซื้อสินทรัพย์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังได้ปรับลดแนวโน้มของเงินเฟ้อลง พร้อมกับคาดการณ์ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2.0 ได้ในช่วงปีงบประมาณ 2560

- กระทรวงสื่อสารและกิจการภายในประเทศของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมีนาคม ปรับตัวลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบรายปี ทำสถิติลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากราคาพลังงานชะลอตัวลง

- กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 จากเดือนก่อนหน้า

4. อัตราแลกเปลี่ยน


- เงินบาทอยู่ที่  34.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

- เงินเยนอยู่ที่  107.21 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.54 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน


-สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 ปิดตลาดที่ 46.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 0.70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า
การผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่แล้ว นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง หลังจาก GDP ของสหรัฐฯ ชะลอตัวลงในไตรมาสแรก

- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 เพิ่มขึ้น 0.96 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 48.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร


- ราคา TOCOM หยุดทำการเนื่องในวัน Showa Day

- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 182.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 3.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว


- สำนักงานสถิติแห่งสเปน เปิดเผยว่า อัตราว่างงานในประเทศปรับตัวสูงขึ้น แตะร้อยละ 21.0 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นการปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบปี

- กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ เปิดเผยว่า จำนวนชาวอเมริกันที่ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 9,000 ราย สู่ระดับ 287,000 ราย ในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 23 เมษายน 2559

- กระทรวงแรงงานญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนมีนาคม ลดลงสู่ระดับร้อยละ 3.2 จากเดือนกุมภาพันธ์ ที่ระดับร้อยละ 3.3

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ


- ราคายางในประเทศไม่เปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากปริมาณผลผลิตที่มีน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศยังคงค่อนข้างเงียบ เพราะผู้ขายก็ไม่มียางขาย  ขณะที่ผู้ซื้อยังคงซื้อในราคาต่ำกว่าราคาตลาด Sicom ในปัจจุบันอีก 1-2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัว หรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ โดยมีปัจจัยบวกมาจากราคาน้ำมันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนผิดหวังต่อมติธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่ไม่ได้ประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมเมื่อวานนี้ ประกอบกับเงินเยนและเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังจากสหรัฐฯ รายงานว่าตัวเลขประกอบการ GDP ไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 0.7



ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา