ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 2241 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย

วิเคราะห์
1. สภาพภูมิอากาศ

- บริเวณประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชกแรง โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรังและสตูล ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ในขณะที่ภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 30-40 ของพื้นที่

2. การใช้ยาง

- บริษัทวิจัยของเวียดนาม รายงานว่า มูลค่าโดยประมาณของตลาดยางล้อในเวียดนามอยู่ที่ 852 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 6.9 ในช่วงปี 2556-2561 โดยนโยบายการลดพิกัดศุลกากรนำเข้ารถยนต์ให้เหลือศูนย์รายในปี 2561 ภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเชี่ยน (AFTA) เชื่อว่าจะทำให้มีปริมาณความต้องการรถยนต์สูงขึ้น และคาดว่าจะมีการจำหน่ายรถยนต์ได้ถึง 2.2 ล้านคันรายใหม่ในปี 2561

3.เศรษฐกิจโลก

- รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานภาคเอกชน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 ในเดือนมีนาคม สู่ระดับ 8.951 แสนล้านเยน
- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนปรับตัวลดลงแตะระดับ -0.2 ในเดือนเมษายน ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานเบื้องต้นที่มีการเปิดเผยเมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้ดึงเม็ดเงินออกจากตลาดทั้งสิ้น 1 หมื่นล้านหยวน เมื่อวานนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ
- หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของแบงค์ออฟอเมริกา กล่าวว่า ขณะนี้ถึงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) กล่าวว่า เศรษฐกิจจีนยังคงมีศักยภาพที่จะขยายตัวในระดับสูงปานกลาง โดยจะไม่เข้าสู่ภาวการณ์ปรับเปลี่ยนที่รุนแรง
- องค์การค้าสหประชาชาติ (UN) ออกรายงานเตือนว่า ราคาอาหารโลกที่พุ่งขึ้นและมีความผันผวนมากขึ้น อาจส่งผลให้เศรษฐกิจของจีนลดลง 1.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่มูลค่าเศรษฐกิจอินเดียหายไป 4.9 หมื่นล้านดอลลาร์

4. อัตราแลกเปลี่ยน

- เงินบาทอยู่ที่  35.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่  110.03 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.91 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ

5. ราคาน้ำมัน

-สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 ปิดตลาดที่ 48.19 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.12 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่า สต๊อกน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า
- สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของรัฐบาลสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยว่าสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่แล้ว สู่ระดับ 541.3 ล้านบาร์เรล ขณะที่นักวิเคราะห์ คาดว่า สต๊อกน้ำมันของสหรัฐฯ จะลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ที่ตลาดลอนดอน ลดลง 0.35 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 48.93 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

6. การเก็งกำไร

- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 162.3 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.8 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่ 167.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 172.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 2.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7. ข่าว

- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) ระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีนยังคงฟื้นตัวในเดือนเมษายน โดยผลสำรวจเผยให้เห็นว่าราคาบ้านใหม่ในเมืองใหญ่ ๆ ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบรายเดือน โดย NBS ระบุว่า จากการสำรวจเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวน 70 เมือง ในเดือนเมษายน พบว่าราคาบ้านใหม่ใน 65 เมือง ปรับตัวสูงขึ้นเทียบกับ 62 เมืองในเดือนก่อนหน้า
- สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมนี เปิดเผยว่า จำนวนผู้ที่มีงานทำในเยอรมนีได้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก ทั้งนี้ระบุว่า ผู้ที่มีงานทำในเยอรมนีมีจำนวน 43.1 ล้านคน ในไตรมาสแรก โดยมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2558

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ

- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยผู้ประกอบการกล่าวว่า เป็นการปั่นราคาในตลาดล่วงหน้า เพราะโดยภาพรวมปริมาณผลผลิตยังคงออกสู่ตลาดน้อย โดยประมาณ 1-2 เดือน ผลผลิตจึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ
แนวโน้ม  ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับนักลงทุนวิตกกังวลและชะลอการซื้อหลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้ส่งสัญญาณว่าอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนหน้า  อย่างไรก็ตาม เงินเยนและเงินบาทอ่อนค่า รวมทั้งปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดน้อยยังเป็นปัจจัยสนับสนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
 

ทีมวิเคราะห์สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา