ผู้เขียน หัวข้อ: หอการค้าระบุศก.ภูมิภาคยังซึม ยกเว้นภาคตะวันออก-ใต้ดีขึ้นรับ'ท่องเที่ยว'-ยางกิโล60บาท  (อ่าน 619 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82926
    • ดูรายละเอียด


หอการค้าระบุศก.ภูมิภาคยังซึม ยกเว้นภาคตะวันออก-ใต้ดีขึ้นรับ'ท่องเที่ยว'-ยางกิโล60บาท


หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- ศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2559 00:00:27 น.


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์เศรษฐกิจภูมิภาคในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 และประมาณการภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคในปี 2559 ว่า เศรษฐกิจในภูมิภาคยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัว ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันยังทรงตัวเกือบทุกภูมิภาค เพราะการท่องเที่ยว การค้าชายแดน ราคาสินค้าเกษตร การใช้จ่ายของประชาชน การลงทุนภาคเอกชน ยังคงทรงตัว ยกเว้นภาคตะวันออกที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว อย่างโดดเด่นจากภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ ภาคใต้ ที่กำลังซื้อของประชาชนกลับมา ดีขึ้นจากราคายางพาราที่ปรับมาเพิ่มขึ้น จากกิโลกรัมละ 40 บาท มาอยู่ที่กิโลกรัมละ 60 บาท



พร้อมมองว่าเศรษฐกิจจะเริ่มปรับตัว ดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่เริ่มเห็น ความชัดเจน มาตรการเพิ่มทุนให้ดับกองทุนหมู่บ้าน และมาตรการส่งเสริม ความเป็นอยู่ระดับ ตำบล แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจ ยังจะเริ่มมีทิศทางการฟื้นตัว แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความรู้สึกถึงค่าครองชีพที่สูง ก่อให้เกิดภาวะหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อกำลังซื้อของ ภาคประชาชน
 
"แม้รัฐบาลจะอัดฉีดจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ แต่จากเศรษฐกิจที่ซึมลึกจึงทำให้เห็นผลได้ไม่ชัดเจน ซึ่งสะท้อนได้ว่าสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการขณะนี้มาถูกทางแล้ว แต่เรื่องจากปัญหาภัยแล้ง การส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัวทำให้เม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นมาตรการที่รัฐออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจึงยังทำให้เห็นผลไม่ชัดเจน"
 
อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559 เศรษฐกิจในแต่ละภูมิภาคจะดีขึ้น เนื่องจากมีปัจจัยบวกจาก มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐเริ่มมีผลต่อการบริโภค/ การลงทุน, การท่องเที่ยวที่มีแนวโน้ม ขยายตัวดี, การส่งออกเริ่มมีสัญญาณของ การฟื้นตัว, การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน, การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่, การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, ราคายางพารามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และการเมืองในประเทศมีเสถียรภาพ
 
ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ SME ยังรู้สึกกังวลถึงพฤติกรรมการบริโภคที่ เปลี่ยนไป โดยเฉพาะผลกระทบจากเทคโนโลยี สมัยใหม่ หรือการค้าออนไลน์ ที่เข้ามาเปลี่ยน วิธีการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ทำให้ SME ขายสินค้าได้ยากขึ้น กระทบต่อยอดขาย ทั้งนี้แม้ผู้ประกอบการจะทราบว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนตัว แต่ก็ยังไม่มีทุนในการปรับตัว โดยในเรื่องนี้รัฐบาล นอกจากสนับสนุนธุรกิจ สตาร์ท อัพแล้ว น่าจะต้องเข้ามาดูแล SME ให้เข้าสู่ตลาดดิจิทัลให้ได้มากขึ้น



บรรยายใต้ภาพ
ธนวรรธน์ พลวิชัย