ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1624 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย
วิเคราะห์


1.สภาพภูมิอากาศ
- บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคเหนือและ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนร้อยละ 70-80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดลาพูน ลาปาง เพชรบูรณ์ เลย ระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ต้องระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ทาให้น้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลากในระยะนี้


2.การใช้ยาง
- โฆษณากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่าตลาดรถยนต์เดือนเมษายน ที่ผ่านมากมีข่าวดีจากยอดผลิตรถยนต์เพื่อจาหน่ายในประเทศ จานวน 57,574 คัน ขยายตัวร้อยละ 31.63 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน


3.สต๊อกยาง
- สต๊อกยางจีน ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 มีจานวน 319,859 ตัน เพิ่มขึ้น 2,392 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.75 จากสต๊อกเดิม จานวน 317,467 ตัน ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559
- สต๊อกยางญี่ปุ่น ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2559 เพิ่มขึ้น 371 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.41 แตะที่ 8,792 ตัน จาก 8,421 ตัน ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2559


4.เศรษฐกิจโลก
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เฟดควรปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วง ไม่กี่เดือนข้างหน้า ถ้าหากเศรษฐกิจมีการขยายตัวตามที่คาดการณ์ไว้และการจ้างงานยังคงเพิ่มขึ้น
- รองประธานกรรมการกากับกิจการธนาคารจีน (CRPC) เปิดเผยว่า ภาคธนาคารของจีน มียอดหนี้เสียเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรก เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ แต่ยังสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ ทั้งนี้สัดส่วนหนี้เสียเมื่อเทียบกับหนี้สินทั้งหมดของจีนอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ณ สิ้นสุดไตรมาสแรก ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ากว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก
- เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีชินโซอะเบะ ของญี่ปุ่นมีแผนจะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีการขายออกไปอีก 2 ปีครึ่ง เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว โดยระบุว่า จะเลื่อนการปรับขึ้นภาษีออกไปจนถึงเดือนตุลาคม 2562
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 สาหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจาไตรมาสแรกของปีนี้ อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ซึ่งเป็นระดับต่าสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2558 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้น ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 แต่ต่ากว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ระดับร้อยละ 0.9
- สานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยว่า กาไรของบริษัทรายใหญ่ในภาคอุตสาหกรรมปรับตัวขึ้นร้อยละ 4.2 เทียบรายปี สู่ระดับ 5.02 แสนล้านหยวนในเดือนเมษายน ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนมีนาคม ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.1
- กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนเมษายน ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 เทียบรายปี โดยการปรับตัวลงของราคาน้ามัน ซึ่งตอกย้ามุมมองที่ว่าญี่ปุ่นยังมีภาวะเงินฝืดต่อไปอีกทาน
- กระทรวงการคลังจีน เปิดเผยว่า สัดส่วนหนี้สินของรัฐบาลจีนต่อ GDP อยู่ที่ราวร้อยละ 41.5 ในปีที่แล้ว ซึ่งต่ากว่าระดับร้อยละ 60.0 ของสหภาพยุโรป (EU) และต่ากว่าประเทศชั้นนาของโลก เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ


5.อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.79 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 110.86 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.94 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


6.ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 49.33 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากที่ว่าแคนาดาเริ่มกลับมาผลิตน้ามัน หลังจากที่แหล่งผลิตน้ามันได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไฟป่าในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ลดลง 0.25 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 49.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล


7.การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 159.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 1.3 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่ 160.5 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.4 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 148.90 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.1 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


8.ข่าว
- ผลสารวจความเห็นจากนักเศรษฐศาสตร์ในลอนดอน พบว่า เศรษฐศาสตร์ของอังกฤษส่วนใหญ่เชื่อว่าการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) หรือ Brexit จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร
- ฝ่ายค้านของญี่ปุ่น เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นลาออกจากตาแหน่ง หากไม่สามารถรักษาคามั่นที่ว่าจะปรับขึ้นภาษีการอุปโภคบริโภคอีกร้อยละ 2.0 ตามที่วางแผนไว้ในเดือนเมษายน 2560 นี้ได้


9.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางยังปรับตัวสูงขึ้นได้ แม้ว่าราคาตลาดล่วงหน้าจะทรงตัวหรือลดลง เพราะ ผู้ประกอบการขาดแคลนยาง ต้องเร่งซื้อหรือส่งมอบโดยแหล่งข่าวรายงานว่า ยังมีราคาที่ขายล่วงหน้าในราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งทาให้ราคาไม่ปรับตัวลดลงตามราคา SICOM



แนวโน้ม ราคายางทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกมาจากการอ่อนค่าของเงินเยนและเงินบาท ประกอบกับอุปทานยางออกสู่ตลาดน้อย ส่วนปัจจัยลบมาจากราคาน้ามัน ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง และนักลงทุนยังคงวิตกกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจจีน หลังจากจีนยังคงเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ซบเซา ขณะที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ได้สนับสนุนให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า เพราะมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งพอ





สานักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา