ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  (อ่าน 1695 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักและหนักมากบางพื้นที่ โดยภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ
70 - 80 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ส่วนภาคอื่น ๆ
มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง - สมาคมยางเวียดนามระบุว่า ปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติของเวียดนามลดลงร้อยละ
12.0 จากปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นปริมาณเหลือเพียง 1 ล้านตัน และลดลงต่ำสุดในรอบ 6
ปี นับจากปี 2554


3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงเกษตร การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม
เดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน พร้อมเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนเมษายน
ลดลงร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี หลังจากที่ได้มีการปรับประมาณการลงร้อยละ 1.0
จากเดือนที่แล้ว
- โกลด์แมน แซคส์ ออกรายงานระบุว่า หลังจากที่ได้รับฟังถ้อยแถลงของประธาน
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่กล่าวแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางการปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยของเฟด ทางบริษัทได้ระบุความเป็นไปได้ที่เฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน
มิถุนายนไว้ที่ร้อยละ 35.0 ขณะที่เดือนกรกฎาคมอยู่ที่ร้อยละ 35.0 เช่นกัน ส่วนเดือน
กันยายนอยู่ที่ร้อยละ 20.0
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาดมูลค่า 6.5 หมื่นล้านหยวน
เพื่อบรรเทาสภาพคล่องที่ตึงตัว
- สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศสรายงานว่า เศรษฐกิจฝรั่งเศสในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัว
เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเมื่อ 3 เดือนก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประมาณการว่า
เศรษฐกิจจะขยายตัวแค่ร้อยละ 0.5 เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้จ่ายและการลงทุนเพิ่มขึ้น
- ธนาคารกลางจีนเปิดเผยให้ที่ประชุมทางการเงินว่า จีนได้พัฒนาระบบการเงิน ซึ่งมีความ
หลากหลายและซับซ้อน แต่เศรษฐกิจในรูปแบบใหม่กลับส่งผลให้จีนเผชิญกับความเสี่ยง
มากขึ้น


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.71 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 111.06 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่าลง 0.20 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - ตลาดน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ที่ตลาดนิวยอร์กหยุดทำการในวันจันทร์ที่ 30พฤษภาคม 2559 เนื่องในวัน Memorial Day


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 161.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนตุลาคม อยู่ที่ 163.1 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 151.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - กระทรวงแรงงานญี่ปุ่นเปิดเผยว่า อัตราว่างงานเดือนเมษายนทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.2
- สำนักงานสถิติของเยอรมันเปิดเผยว่า ค่าแรงในเยอรมันไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว




8. ข้อคิดเห็นของ
ประกอบการ
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยปัจจัยส่วนใหญ่มาจากปัจจัยในประเทศ โดยเฉพาะ
การขาดแคลนยางของผู้ประกอบการที่ต้องส่งมอบ ซึ่งมีการขายล่วงหน้าไว้ในราคาสูง
ทำให้ราคายางอยู่ในระดับสูงกว่าตลาดล่วงหน้า


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมีปัจจัยบวกมาจากเงินเยน
อ่อนค่าและอุปทานยางที่ออกสู่ตลาดน้อย เพราะเกิดภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่ปลูกยางของไทย ขณะที่
ผู้ประกอบการในประเทศเริ่มขาดแคลนยางจึงเร่งซื้อ ทำให้เกิดการแข่งขันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของ
ราคาน้ำมัน และกระแสข่าวธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็ว ๆ นี้ ยังเป็นปัจจัยกดดัน
ราคายางได้ในระดับหนึ่ง




สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา