ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1582 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์


1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยภาคใต้มีฝนร้อยละ 70 - 80 ของพื้นที่ ส่วนมาก
บริเวณจังหวัดระนอง กระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง ส่วนภาคอื่น
มีฝนร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง - บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ยอดจำหน่ายรถยนต์เดือนเมษายน
มีจำนวน 54,986 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดย
ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 11.9 ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตรา
การเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นของตลาดรถยนต์ครั้งแรก
ในรอบ 4 เดือน นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 ขณะที่ตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน
มีปริมาณการจำหน่าย 236,546 คัน ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 23.2 ตลาดรถยนต์เพื่อ
การพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 สืบเนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
ของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในประเทศ อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อที่ยัง
ไม่ขยายตัวเต็มที่ ทำให้อัตราการเติบโตของยอดขายสะสมยังคงชะลอตัว


3. เศรษฐกิจโลก - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล
(PCE) พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดอัตราเงินเฟ้อของ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบเป็นรายเดือน
หลังจากขยับขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือนมีนาคม และเมื่อเทียบเป็นรายปี ดัชนี PCE พื้นฐาน
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ในเดือนเมษายน หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เช่นกันในเดือนมีนาคม
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายผู้บริโภคสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0
ในเดือนเมษายน หลังจากทรงตัวในเดือนมีนาคม โดยได้รับปัจจัยบวกจากการที่ภาค
ครัวเรือนเข้าซื้อรถยนต์ รวมทั้งสินค้าและบริการอื่น ๆ
- ทางการอินเดียเปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีการขยายตัว
ร้อยละ 7.9 ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ
2558 - 2559 และทำให้อินเดียเป็นประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในโลก
- คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
ของจีนมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีที่แล้ว ท่ามกลางการปรับโครงสร้างในภาค
อุตสาหกรรม และการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ซบเซา โดย NDRC ระบุว่ามูลค่าสินค้า
ด้านโลจิสติกส์ปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี สู่ระดับ 219.2 ล้านล้าน
หยวน
- ดัชนีผู้บริโภคฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเขตชิคาโกลดลงเกินคาดสู่ระดับ 49.3 ใน
เดือนพฤษภาคม จากระดับ 50.4 ในเดือนเมษายน
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) และสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS)
เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของจีนอยู่ที่ระดับ 50.1 ในเดือน
พฤษภาคม ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนเมษายน
- ดัชนีฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนอยู่ที่ระดับ 53.1 ในเดือนพฤษภาคม ชะลอตัว
ลงจากเดือนเมษายนที่ระดับ 53.5 จากเดือนมีนาคมที่ 53.8



- สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรปเปิดเผยว่า เงินเฟ้อเบื้องต้นในกลุ่มยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่
ระดับร้อยละ -0.1 ในเดือนพฤษภาคม จากร้อยละ -0.2 ในเดือนเมษายน สะท้อนให้เห็น
ว่ายูโรโซนยังคงเผชิญกับภาวะเงินฝืด
- ผลสำรวจของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ระบุว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ลดลงเป็นเดือน
ที่ 2 ในเดือนพฤษภาคม โดยอยู่ที่ระดับ 92.6 หลังแตะระดับ 94.2 ในเดือนเมษายน
- สำนักสถิติแห่งชาติเยอรมัน เปิดเผยว่า
? ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพฤษภาคมปรับตัวขึ้นร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี
หลังจากที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือนเมษายน
? ยอดค้าปลีกเดือนเมษายนลดลงร้อยละ 0.9 จากเดือนที่แล้ว สวนทางกับคาดการณ์
ของนักวิเคราะห์ แม้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะปรับตัวสูงขึ้นและตลาดแรงงาน
แข็งแกร่งก็ตาม


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.69 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.02 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 110.66 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.40 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
49.10 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.23 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำสถิติปิดลบ
ติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานน้ำมันล้น
ตลาด และระมัดระวังในการซื้อขายก่อนที่การประชุมกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน
(โอเปค) จะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 2 มิถุนายน 2559
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 49.69
ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.07 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 159.0 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 4.0 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 159.6 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 6.0 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 152.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.3 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - ผลสำรวจของสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และเคส ซิลเลอร์ ระบุว่า ราคาบ้านในสหรัฐฯ
ปรับตัวขึ้นมากกว่าคาดในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ในเดือนมีนาคม เมื่อเทียบเป็นรายปี เท่ากับระดับการเพิ่มขึ้นของเดือน
กุมภาพันธ์ และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.2

8. ข้อคิดเห็นของ
ประกอบการ
- ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาไม่ปรับลงมาก
เพราะยังมีปัจจัยหนุนจากปริมาณผลผลิตที่มีน้อย และผู้ประกอบการบางรายขาดแคลน
ยางเพื่อส่งมอบ จึงเร่งซื้อ

แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามตลาดล่วงหน้าโตเกียวและราคาน้ำมัน ประกอบกับเงินเยนและ
เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า นอกจากนี้ราคายางยังได้รับปัจจัยลบจากกระแสคาดการณ์ว่าข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่
แข็งแกร่ง อาจเป็นปัจจัยผลักดันให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม อุปทาน
ยางที่ออกสู่ตลาดน้อย และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศยังเป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง
สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา