ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1513 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ปัจจัย วิเคราะห์

1. สภาพภูมิอากาศ - ประเทศไทยยังมีฝนตกหนักบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคใต้ที่มีฝนตกร้อยละ 40 - 60 ของ
พื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ระนอง พังงา และภูเก็ต ส่งผลกระทบต่อการกรีดยาง
ส่วนภาคอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่


2. การใช้ยาง - ยอดจำหน่ายรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในเกาหลีใต้เดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้นจาก
ปีที่แล้วร้อยละ 6.4 อยู่ที่ 761,981 คัน เนื่องจากความต้องการรถยนต์ที่แข็งแกร่งทั้งใน
และต่างประเทศ โดยส่วนของยอดจำหน่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 จาก
ปีที่แล้ว อยู่ที่ 145,815 คัน โดยได้รับอานิสงค์จากการปรับภาษีรถยนต์ ขณะที่ยอด
ส่งออกรถยนต์ในต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 อยู่ที่ 616,166 คัน


3. เศรษฐกิจโลก - นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีบริโภคอย่างเป็นทางการ โดยจะเลื่อน
จากเดือนเมษายน 2560 เป็นเดือนตุลาคม 2562 ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับผลที่อาจ
เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจ
- นักวิเคราะห์ของ 6 สถาบันในภาคเอกชนคาดว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะทำการทบทวนการเพิ่ม
ตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรก เนื่องจากการลงทุนทางธุรกิจได้เพิ่ม
มากขึ้น ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่ารัฐบาลจะประกาศว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(GDP) ประจำไตรมาสแรกมีการขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบเป็นรายปี จากเดิมที่
รายงานว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเดือนที่แล้ว
- องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) มีมุมมองเชิงลบต่อ
เศรษฐกิจโลกมากขึ้น โดยเตือนว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง หากรัฐบาล
ไม่ปรับเปลี่ยนทิศทางการใช้จ่ายและการค้า และได้คงมุมมองที่มีต่อการขยายตัวของ
เศรษฐกิจโลกในปีนี้ เนื่องจากการลงทุนและการค้าที่อ่อนแอ ขณะที่ตลาดเกิดใหม่ซบเซา
โดย OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปีนี้ และร้อยละ 3.3 ในปีหน้า
ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงจากรายงานการคาดการณ์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์
- สถาบันวิจัยเศรษฐกิจเยอรมันรายงานว่า เศรษฐกิจเยอรมันอาจชะลอตัวลงในไตรมาส 2
เนื่องจากปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลัก ๆ อ่อนแรงลง โดยเศรษฐกิจเยอรมันมีแนวโน้มจะ
เติบโตขึ้นร้อยละ 0.3 ในไตรมาส 2 หลังจากที่เติบโตขึ้นร้อยละ 0.7 ในไตรมาสแรกปีนี้
- ผลสำรวจของสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) ระบุว่า ภาคการผลิตของ
สหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมมีการขยายตัวติดต่อกัน 3 เดือน ทั้งนี้ดัชนีภาคการผลิตของ ISM
อยู่ที่ร้อยละ 51.3 เพิ่มขึ้นตากร้อยละ 50.8 ในเดือนเมษายน


4. อัตราแลกเปลี่ยน - เงินบาทอยู่ที่ 35.68 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 0.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 109.17 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 1.49 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ


5. ราคาน้ำมัน - สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymex ส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดตลาดที่
49.01 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 0.09 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรล ทำสถิติปรับตัว
ลดลงติดต่อกัน 3 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนชะลอการซื้อขายก่อนที่ประชุม
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปค) จะเปิดฉากขึ้นในวันนี้
- สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนกรกฎาคม ปิดที่ 49.72



- แหล่งข่าวระบุว่า สมาชิกโคเปคจากอ่าวอาหรับ ซึ่งรวมถึงซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ คูเวต
และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กำลังมีแนวคิดที่จะให้สมาชิกร่วมมือกันควบคุมการผลิตน้ำมัน
ในการประชุมที่จะมีขึ้นในวันนี้


6. การเก็งกำไร - ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม อยู่ที่ 158.0 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.4 เยนต่อ
กิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน อยู่ที่ 158.2 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 1.0 เยนต่อ
กิโลกรัม
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 151.0 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม ลดลง 0.9 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม


7. ข่าว - กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของสหรัฐฯ ลดลง
ร้อยละ 1.8 ในเดือนเมษายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม
2554 ที่ลดลงร้อยละ 4.1
- ประธานธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) เปิดเผยว่า AIIB จะ
ขยายจำนวนประเทศสมาชิกจากเดิมที่มี 57 ประเทศ ให้ได้เกือบ 100 ประเทศภายใน
สิ้นปีนี้

8. ข้อคิดเห็นของประกอบการ
- ราคายางในระยะนี้ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยเฉพาะราคาที่มีการซื้อขายในประเทศ
จากภาวะขาดแคลนวัตถุดิบของผู้ประกอบการ ทำให้ยังคงมีการแข่งขันซื้อสูง และไม่ปรับ
ลดลงมากตามตลาดซื้อขายล่วงหน้า


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ทิศทางเดียวกับตลาดล่วงหน้าโตเกียว โดยมี
ปัจจัยบวกจากอุปทานยางในประเทศผู้ผลิต โดยเฉพาะไทยยังคงออกสู่ตลาดน้อยจากภาวะฝนตกหนักในหลายพื้นที่
ปลูกยาง และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีการขยายตัวแข็งแกร่ง ส่วนปัจจัยลบมาจากเงินเยนแข็งค่า และราคาน้ำมัน
ปรับตัวลดลง ประกอบกับนักลงทุนกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีน หลังจากภาคการผลิตของจีนเดือนพฤษภาคมอยู่ใน
ระดับอ่อนแอที่สุดในรอบ 3 เดือน



สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา