ผู้เขียน หัวข้อ: ยางใต้สงสัย เฝ้ามอง?สต๊อกยาง? เข้าตำรา ?เหล้าเก่าในขวดใหม่? หรือไม่ (06/06/2559)  (อ่าน 902 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด
ยางใต้สงสัย เฝ้ามอง"สต๊อกยาง" เข้าตำรา "เหล้าเก่าในขวดใหม่" หรือไม่

วันจันทร์ที่ 06 มิถุนายน  2016 เวลา 09:48 น.[size=78%]  [/size]
 
[/size]201606031234559-20041020143405[size=78%]

[/size]จากกรณี ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) สั่งหน่วยงานในสังกัด กยท. ทุกหน่วยงานตรวจสอบทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมด โดยเฉพาะสต๊อกยางในจังหวัดต่างๆ ว่า มีจำนวนที่แท้จริงเท่าไร พร้อมทั้งให้มีการสุ่มตรวจสอบคุณภาพของยางทุกโกดังที่เก็บ เพราะต้องการรู้ว่า ยางคุณภาพดี และยางที่เสียแล้วมีจำนวนเท่าไรจะได้นำมาใช้ในการบริหารจัดการสต๊อกยางให้ สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงนั้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน นายมนัส บุญพัฒน์ นายกสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย เปิดเผยว่า จากการเก็บข้อมูลมาตลอด พบว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ยางเริ่มออก ราคากำลังดี และมีแนวโน้มว่าหลังจากนี้ราคายางก็จะต้องลดลงอีก?เป็นที่น่าสังเกตว่า จะมีการมาแตะต้องสต๊อกยางทุกครั้ง มันเกิดอะไรขึ้น มันเริ่มมีอะไรที่วุ่นวายเหมือนๆ เดิมอีกหรือไม่ จะเข้าตำรา ?เหล้าเก่าในขวดใหม่? หรือไม่ ผมไม่ได้โจมตี แต่สังเกตเท่านั้นว่ามันกำลังวนเวียนมาอยู่ในตำราหน้าเดิมๆ หรือไม่??ผมเห็นด้วยกับที่มีการตรวจสอบ เเต่ทำไมช่วงที่ราคายางพีคสุดๆ อยู่ที่ราคา กก.ละ 63 บาท ตั้งแต่วันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำไมพวกท่านไม่ขยับ  สต๊อกยางมักจะเคลื่อนในห้วงเวลาเดียวกันเสมอๆ เกรงว่าการตรวจสต๊อก เพื่อสร้างกะแสข่าวของ จนท.แล้วสุดท้าย อ้างถึงเหตุผลความเสียหาย เพื่อส่งขายราคาต่ำ เป็นการรอ สิ่งตอบแทน หรือไม่? นายมนัสกล่าวนาย มนัสกล่าวว่า เคยเสนอท่าน ผช.รมต.เกษตรฯ เมื่อคราวมาที่ อ.ทุ่งสง แต่ไม่เห็นขยับ เช่น การช่วยเหลือการเก็บสต๊อกยางแผ่นดิบธรรมชาติตามวิถีชาวสวนแต่เดิม กล่าวคือ ชาวสวนยางรายย่อยมีจำนวนมาก สิ่งหนึ่งที่จะช่วยพยุงราคากันเอาไว้ในช่วงที่มีราคาสูงสุด หรือต่ำสุดนั้น สต๊อกธรรมชาติ หมายถึงว่า เมื่อชาวสวนกรีดยางเสร็จ ก็มาแปรรูปเป็นยางแผ่นดิบ ตากจนแห้ง เก็บไว้ในลานเก็บเป็นสต๊อกเล็กภายในบ้าน และเมื่อชาวสวนเห็นว่าช่วงนี้ราคาดี ก็จะนำออกขาย ช่วงนี้ราคาตกก็จะเก็บไว้ก่อน นั่นคือวิถีชีวิตของคนกรีดยางจริงๆ ยกตัวอย่างที่ บ้านห้วยโก ต.พิปูน อ.พิปูน จะนำยางออกมาขายปีละ 2 ครั้งเท่านั้น นี่คือตัวอย่างการเก็บสต๊อกยางตามธรรมชาติ ไม่ต้องสร้างโรงเก็บให้ต้องสูญเสียงบประมาณมากมาย?ดังนั้น แนวทางการขับเคลื่อนของสมาคมคนกรีดยาง (ส.ค.ย.) จะต้องประกอบด้วย 1.การรวมกลุ่มน้ำยางสดและเศษยาง ของพี่น้องรายย่อย เพื่อให้มีการแข่งขันรับซื้อที่ราคา วันต่อวัน แบบวิธีประมูล 2.ทำแผ่นยางดิบ และเก็บยางสต๊อกไว้ขาย ตามวันเวลา และสถานการณ์ราคาที่พอใจที่สุด 3.รวมกลุ่มกันเป็นผู้ผลิตยางรมควันชั้นดีเพื่อส่งขายในสถาบันหรือผู้ซื้อที่ ประกาศราคาซื้อสูงสุดของแต่ละวัน 4.รณรงค์อย่างจริงจังให้เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีจำนวนชาวสวนยางอยู่มากที่ สูงที่สุดของประเทศ เป็นจังหวัดทีสามารถผลิตยางล้อรถ ด้วยการมีจิตสำนึกว่า ?วัตถุดิบเราเอง ผลิตเอง แบรนด์เนมเอง ส่งออกขายเอง รณรงค์ให้ใช้เอง โฆษณาเอง เชียร์เอง ชาตินิยมบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ที่ชาวสวนยางทุกชีวิตในจังหวัดต้องร่วมเป็นเจ้าของ? นายมนัสกล่าวอีกสำหรับราคาตลาดกลางยางพาราจังหวัดนครศรี ธรรมราชในวันนี้ ยางแผ่นดิบ 56.08 บาท/กก. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.32 บาท/กก. ยางความชื้น 55.08 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้น 1.32 บาท/กก. ยางแผ่นรมควัน 57.59 บาท/กก. ปรับตัวลดลง 0.02 บาท/กก.ปริมาณยางเข้าสู่ตลาดกลางยางพารานครศรีธรรมราชวันนี้ยางแผ่นดิบ ไม่มียางเข้าสู่ตลาด  ยางแผ่นรมควัน 24 ตัน ราคายางแผ่นดิบท้องถิ่น 51.40 บาท/กก. ราคาน้ำยางสด 50.50 บาท/กก. ขณะที่ราคายางหน้าสวน น้ำยางดิบ กก.ละ 50 บาท ยางแผ่นดิบทำแบบวิถีชีวิตของชาวบ้าน ราคา กก.ละ 52-53 บาทที่มา : มติชนออนไลน์ (03 มิ.ย. 59)[size=78%]