ผู้เขียน หัวข้อ: วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559  (อ่าน 1415 ครั้ง)

Rakayang.Com

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 82396
    • ดูรายละเอียด

วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อราคายาง
วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559



ปัจจัย
วิเคราะห์

1.สภาพภูมิอากาศ
-บริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีเมฆบางส่วนกับมีฝนตกร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ทาให้หลายพื้นที่ สามารถกรีดยางได้เพิ่มขึ้น และคาดว่าปริมาณผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น เพราะต้นยางได้รับความชุ่มชื้นเต็มที่

2.การใช้ยาง

- สมาคมผู้นาเข้ายานยนต์ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดขายรถยนต์นาเข้าในญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในต่างประเทศ โดยค่ายรถสัญชาติญี่ปุ่นปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 8.3 ในเดือนพฤษภาคม เมื่อเทียบรายปี สู่ระดับ 24,724 คัน ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์นาเข้าปรับตัวขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน

3.เศรษฐกิจโลก
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวแสดงความเชื่อมั่นว่า ผลกระทบจากต่างประเทศกาลังเบาบางลง แต่ก็ยังได้เตือนว่า การถอนตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (EU) จะส่งผลกระทบ ทางเศรษฐกิจที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ยังระบุว่า เฟดจาเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ไม่ได้ระบุถึงกาหนดเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
- กระทรวงเศรษฐกิจเยอรมนี เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานในเดือนเมษายน ลดลงร้อยละ 2.0 จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะขยับลงเพียงร้อยละ 0.6 สะท้อนให้เห็นว่า อุปสงค์จากประเทศต่างๆ นอกกลุ่มยูโรโซนนั้นอ่อนแอลง
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประเทศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าตลาดมูลค่า 4 หมื่นล้านหยวน เมื่อวานนี้ หรือบรรเทาสภาพคล่องที่ตึงตัว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาบอสตัน เปิดเผยว่า เขายังคาดหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อเปิดทางให้เฟดตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แม้ว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนพฤษภาคม ออกมาน่าผิดหวังก็ตาม
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้มีการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่น่าผิดหวังในสัปดาห์ที่แล้ว อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังเผชิญกับปัจจัยเสี่ยง 4 ประการ ซึ่งได้แก่อุปสงค์ที่ชะลอตัว ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงจากภายนอกประเทศ และยังกล่าวย้าว่าความไม่แน่นอนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้กาลังส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ

4.อัตราแลกเปลี่ยน
- เงินบาทอยู่ที่ 35.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่า 0.08 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
- เงินเยนอยู่ที่ 107.51 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ อ่อนค่า 0.75 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
5.ราคาน้ามัน
- สัญญาน้ามันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาด Nymax ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 ปิดตลาดที่ 49.69 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากมีรายงานว่าเหตุการณ์โจมตีท่อส่งน้ามันในประเทศไนจีเรียส่งผลให้การผลิตน้ามันภายในประเทศปรับตัวลดลง นอกจากนี้ยังได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ
- สัญญาน้ามันดิบเบรนท์ (Brent) ตลาดลอนดอนส่งมอบเดือนสิงหาคม 2559 เพิ่มขึ้น 0.9 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ปิดตลาดที่ 50.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล



6.การเก็งกาไร
- ราคา TOCOM ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 158.9 เยนต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 0.2 เยนต่อกิโลกรัม และส่งมอบเดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่ 159.2 เยนต่อกิโลกรัม ลดลง 0.2 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ
- ราคา SICOM เปิดตลาดที่ 152.5 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้น 2.2 เซนต์สหรัฐต่อกิโลกรัม

7.ข่าว
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะตลาดแรงงานดิ่งลงสู่ระดับต่าสุด นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2009 หลังจากปรับตัวลดลงติดต่อกัน 7 เดือน ทั้งนี้ ดัชนีภาวะตลาดแรงงานของเฟด ลดลงสู่ระดับ -4.8 ในเดือนพฤษภาคม จากระดับ -3.4 ในเดือนเมษายน

8.ข้อคิดเห็นของประกอบการ - ราคายางน่าจะทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ เพราะปริมาณยางมีน้อย ขณะที่ไม่ปรับสูงขึ้นมาก เพราะราคาซื้อขายในปัจจุบันสูงเกินจริง อย่างไรก็ตาม หากปริมาณยางออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ก็มองว่าราคาน่าจะปรับลงได้อีก


แนวโน้ม ราคายางมีแนวโน้มทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในช่วงแคบ ๆ ในทิศทางเดียวกับตลาดโตเกียวโดยมีปัจจัยบวกมาจากเงินเยนอ่อนค่าและราคาน้ามันปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับนักลงทุนคลายความวิตกกังวล หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีความแข็งแกร่ง แม้ว่าตัวเลขการจ้างงานจะออกมาต่ากว่าการคาดการณ์ก็ตาม ส่วนปัจจัยลบมาจากนักลงทุนระมัดระวังในการซื้อขาย ก่อนที่จีนจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สาคัญในสัปดาห์นี้ ขณะที่สต๊อกยางจีนปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 320,626 ตัน (วันที่ 3 มิถุนายน 2559) จากสต๊อกเดิมที่ระดับ 319,859 ตัน ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2559

สำนักงานตลาดกลางยางพาราสงขลา